เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 10. สุสิมปริพพาชกสูตร

“สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรผันเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะพิจารณาเห็น
สิ่งนั้นว่า ‘นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา”
“ข้อนั้นไม่ควรเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“สุสิมะ เพราะเหตุนั้น รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน
เป็นไปภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้
รูปทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา”
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายในหรือ
ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ เวทนาทั้งหมดนั้น
เธอพึงเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ
สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายในหรือ
ภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ สังขารทั้งหมดนั้น
เธอพึงเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น
นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็นไปภายใน
หรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ไกลหรืออยู่ใกล้ วิญญาณ
ทั้งหมดนั้นเธอพึงเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามความเป็นจริงว่า ‘นั่นไม่ใช่ของเรา
เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา’
สุสิมะ อริยสาวกผู้ได้สดับ เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรูป แม้ใน
เวทนา แม้ในสัญญา แม้ในสังขาร แม้ในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย
กำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็รู้ว่า
‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ
เสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :150 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 10. สุสิมปริพพาชกสูตร

“เธอเห็นว่า เพราะชาติเป็นปัจจัย ชราและมรณะจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมีหรือ ... เพราะผัสสะเป็น
ปัจจัย เวทนาจึงมี ... เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี... เพราะสังขารเป็น
ปัจจัย วิญญาณจึงมี...เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี...เพราะวิญญาณเป็น
ปัจจัย นามรูปจึงมี” .... เธอเห็นว่า เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมีหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะชาติดับ ชราและมรณะจึงดับหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเห็นว่า เพราะภพดับ ชาติจึงดับหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“สุสิมะ เธอเห็นว่า เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ... เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ ... เพราะเวทนาดับ ตัณหาจึงดับ ... เพราะผัสสะดับ เวทนาจึงดับ ...
เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ... เพราะนามรูปดับ สฬายตนะจึงดับ ... เพราะ
วิญญาณดับ นามรูปจึงดับ ... เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ... เพราะอวิชชาดับ
สังขารจึงดับหรือ”
“อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :151 }