เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 10. สุสิมปริพพาชกสูตร

‘มาเถิดท่านสุสิมะ ท่านจงประพฤติพรหมจรรย์ในสำนักพระสมณโคดม ท่าน
เรียนธรรมแล้ว พึงบอกสอนพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าเรียนธรรมนั้นแล้ว จักบอก
แก่พวกคฤหัสถ์ เมื่อเป็นเช่นนั้น แม้พวกเราก็จักเป็นผู้ที่เทวดาและมนุษย์สักการะ
เคารพ นับถือ บูชา ประพฤติอ่อนน้อม จักได้รับจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ
คิลานปัจจัยเภสัชบริขาร’
สุสิมปริพาชกรับคำบริษัทของตนแล้วเข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ได้
สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันกับท่านพระอานนท์แล้วนั่ง
ณ ที่สมควร ได้กล่าวกับท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า
“ท่านพระอานนท์ ผมปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้”
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์พาสุสิมปริพาชกเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สุสิมปริพาชกนี้กล่าวว่า ‘ท่านพระอานนท์ ผมปรารถนา
จะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้”
“อานนท์ ถ้าอย่างนั้น เธอจงให้สุสิมะบวชเถิด”
สุสิมปริพาชกได้บรรพชาอุปสมบทในสำนักพระผู้มีพระภาคแล้ว
สมัยนั้น ภิกษุจำนวนมากพากันอวดอ้างอรหัตตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควร
ทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ท่านสุสิมะได้ฟังมาว่า “ข่าวว่า ภิกษุจำนวนมากอวดอ้างอรหัตตผล ในสำนัก
พระผู้มีพระภาคว่า ‘ข้าพระองค์ทั้งหลายรู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :144 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 10. สุสิมปริพพาชกสูตร

ครั้งนั้น ท่านสุสิมะเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็น
ที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้ถามภิกษุเหล่านั้นว่า ‘ข่าวว่า
ท่านทั้งหลายอวดอ้างอรหัตตผลในสำนักพระผู้มีพระภาคว่า ข้าพระองค์ทั้งหลาย
รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่น
เพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป จริงหรือ”
“จริง ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้หลาย
อย่าง คือคนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้
ปรากฏก็ได้หรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา ทะลุกำแพง(และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือน
ไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือนไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่
แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้
ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ อันมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจ
ทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้บ้างหรือ”1
“ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านทั้งหลายรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมได้ยินเสียง 2 ชนิด คือ เสียงทิพย์ และ
เสียงมนุษย์ ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยหูทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์บ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ”
“ท่านทั้งหลายรู้เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมกำหนดรู้จิตของสัตว์และคนอื่นด้วยจิตของตน
คือจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากราคะ
จิตมีโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโทสะ
จิตมีโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ชัดว่าจิตปราศจากโมหะ