เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 7. นฬกลาปิสูตร

“ท่านโกฏฐิตะ วิญญาณเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้
ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งวิญญาณ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้ แต่เพราะ
นามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี”
“เราเพิ่งรู้ชัดภาษิตของท่านสารีบุตรเดี๋ยวนี้เอง”
“ท่านโกฏฐิตะ นามรูปเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้
ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งนามรูป
เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้
แต่เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี”
“อนึ่ง เราเพิ่งรู้ภาษิตของท่านสารีบุตรเดี๋ยวนี้เอง”
“ท่านโกฏฐิตะ วิญญาณเป็นสิ่งที่ตนกระทำเองก็มิใช่ เป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้
ก็มิใช่ เป็นสิ่งที่ตนกระทำเองด้วยและเป็นสิ่งที่คนอื่นกระทำให้ด้วยก็มิใช่ ทั้งวิญญาณ
เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุที่ตนกระทำเองก็มิใช่ และคนอื่นกระทำให้ก็มิใช่หามิได้ แต่
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี”
“ท่านสารีบุตร ผมจะเข้าใจเนื้อความแห่งภาษิตนี้ได้อย่างไร”
“ถ้าเช่นนั้น ผมจักเปรียบเทียบให้ท่านฟัง บุรุษทั้งหลายผู้มีความรู้ในโลกนี้
ย่อมรู้เนื้อความแห่งภาษิตได้แม้ด้วยการเปรียบเทียบ
เปรียบเหมือนไม้อ้อ 2 กำ พึงตั้งอยู่ได้เพราะอาศัยกันและกัน อุปมานี้ฉันใด
อุปไมยก็ฉันนั้น เพราะนามรูปเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
นามรูปจึงมี เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
ผัสสะจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนไม้อ้อทั้ง 2 กำนั้น ถ้าดึงออกเสียกำหนึ่ง อีกกำหนึ่งก็ล้ม
ถ้าดึงออกอีกกำหนึ่ง อีกกำหนึ่งก็ล้ม อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เพราะ
นามรูปดับ วิญญาณจึงดับ เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ เพราะนามรูปดับ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :136 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 7. นฬกลาปิสูตร

สฬายตนะจึงดับ เพราะสฬายตนะดับ ผัสสะจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”
“ท่านสารีบุตร สุภาษิตตามที่ท่านกล่าวมานี้ เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์จริง ไม่เคย
ปรากฏ ผมชื่นชมคำสุภาษิตของท่านสารีบุตรจำนวน 36 เรื่องนี้”1
“ท่านผู้มีอายุ ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด
เพื่อดับชราและมรณะ ควรเรียกว่า ‘ภิกษุธรรมกถึก’ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติ เพื่อ
ความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชราและมรณะ ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้
ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ ถ้าภิกษุเป็นผู้หลุดพ้น เพราะความเบื่อหน่าย คลาย
กำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นชราและมรณะ ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานใน
ปัจจุบัน’
ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับชาติ ฯลฯ
ภพ ... อุปาทาน ... ตัณหา ... เวทนา ... ผัสสะ ... สฬายตนะ ... นามรูป ... วิญญาณ
... สังขารทั้งหลาย ...
ถ้าภิกษุแสดงธรรมเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับอวิชชา
ควรเรียกว่า ‘ภิกษุธรรมกถึก’ ถ้าภิกษุเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลาย
กำหนัด เพื่อดับอวิชชา ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม’ ถ้าภิกษุ
เป็นผู้หลุดพ้น เพราะความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ดับ เพราะไม่ถือมั่นอวิชชา
ควรเรียกว่า ‘ภิกษุผู้บรรลุนิพพานในปัจจุบัน”

นฬกลาปิสูตรที่ 7 จบ