เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 3. ปุตตมังสสูตร

กวฬิงการาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร
คือ เปรียบเหมือนภรรยาสามีทั้งสอง ถือเอาเสบียงเล็กน้อย เดินทางกันดาร1
เขาทั้งสองมีบุตรน้อย 1 คนทั้งน่ารัก และน่าพอใจ ขณะที่พวกเขากำลังเดินทาง
กันดาร เสบียงที่มีเพียงเล็กน้อยได้หมดสิ้นไป แต่ทางกันดารของพวกเขายังไม่ผ่านไป
ยังเหลืออยู่ไกล ลำดับนั้น เขาทั้งสองตกลงกันว่า ‘เสบียงที่เหลืออยู่เล็กน้อย ได้หมด
สิ้นไปแล้ว แต่ทางกันดารยังเหลืออยู่ไกล ทางที่ดี พวกเราช่วยกันฆ่าบุตรน้อย ที่น่า
รักน่าพอใจคนนี้เสีย ทำเป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง บริโภคเนื้อบุตร ก็จะข้ามพ้นทาง
กันดารที่เหลืออยู่ได้ เราทั้ง 3 อย่าพินาศพร้อมกันเลย’ ต่อมา ภรรยาสามีทั้งสองนั้น
ก็ฆ่าบุตรน้อยที่น่ารักน่าพอใจคนนั้น ทำเป็นเนื้อเค็มและเนื้อย่าง บริโภคเนื้อบุตรนั้น
แหละจึงข้ามพ้นทางกันดารนั้นไปได้ พวกเขาบริโภคเนื้อบุตรไปพลาง ทุบอกไปพลาง
รำพันว่า ‘บุตรน้อยอยู่ที่ไหน บุตรน้อยอยู่ที่ไหน’
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร
คือ พวกเขาบริโภคเนื้อบุตรเป็นอาหาร เพื่อเล่น เพื่อความมัวเมา หรือเพื่อ
ตกแต่ง เพื่อประดับร่างกายหรือ”
“หามิได้ พระพุทธเจ้าข้า”
“พวกเขาบริโภคอาหารที่ปรุงจากเนื้อบุตรเพียงเพื่อจะข้ามทางกันดารให้พ้นหรือ”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เรากล่าวว่า ‘บุคคลพึงเห็น
กวฬิงการาหาร (เปรียบเหมือนเนื้อบุตร)’ เมื่ออริยสาวกกำหนด2รู้กวฬิงการาหาร
ได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ราคะซึ่งเกิดจากกามคุณ 5 เมื่อกำหนดรู้ราคะซึ่งเกิดจาก
กามคุณ 5 ได้แล้ว สังโยชน์ที่เป็นเครื่องชักนำอริยสาวกให้มาสู่โลกนี้อีก ก็ไม่มี


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 3. ปุตตมังสสูตร

ผัสสาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร
คือ เปรียบเหมือนแม่โคที่ไม่มีหนังหุ้ม ถ้ายืนพิงฝาอยู่ ก็จะถูกฝูงสัตว์ที่อาศัย
ฝาเจาะกิน ถ้ายืนพิงต้นไม้อยู่ ก็จะถูกฝูงสัตว์ที่อาศัยต้นไม้เจาะกิน ถ้าลงไปยืน
แช่น้ำอยู่ ก็จะถูกฝูงสัตว์ที่อาศัยอยู่ในน้ำกัดกิน ถ้ายืนอยู่ในที่แจ้ง ก็จะถูกฝูงสัตว์
ที่อาศัยอยู่ในอากาศเกาะจิกกิน ไม่ว่าแม่โคตัวที่ไม่มีหนังหุ้มตัวนั้นจะไปอาศัยอยู่ใน
สถานที่ใด ๆ ก็ตาม ก็ถูกจำพวกสัตว์ที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้น ๆ กัดกินอยู่ร่ำไป
อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เรากล่าวว่า ‘บุคคลพึงเห็นผัสสาหาร (เปรียบเหมือน
แม่โคที่ไม่มีหนังหุ้ม)’ เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้ผัสสาหารได้แล้วก็เป็นอันกำหนดรู้
เวทนา 3 ประการ เมื่อกำหนดรู้เวทนา 31 ประการได้แล้ว เรากล่าวว่าไม่มีสิ่งใดที่
อริยสาวกพึงทำให้ยิ่งไปกว่านี้
มโนสัญเจตนาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร
คือ เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง ลึกกว่าชั่วคน เต็มไปด้วยถ่านเพลิง ไม่มีเปลว
ไม่มีควัน ครั้งนั้นบุรุษคนหนึ่งต้องการมีชีวิตไม่อยากตาย รักสุขเกลียดทุกข์เดินมา
บุรุษมีกำลัง 2 คนจับแขนของเขาคนละข้างฉุดไปลงหลุมถ่านเพลิง ทันใดนั้น เขามี
เจตนาปรารถนาตั้งใจจะไปให้ไกลจากหลุมถ่านเพลิง
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเขารู้ว่า ‘ถ้าเราจักตกหลุมถ่านเพลิงนี้ เราจักต้องตายหรือถึงทุกข์
ปางตาย เพราะเหตุนั้น’ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เรากล่าวว่า ‘บุคคลพึง
เห็นมโนสัญเจตนาหาร (เปรียบเหมือนหลุมถ่านเพลิง)’ เมื่ออริยสาวกกำหนดรู้มโน-
สัญเจตนาหารได้แล้ว ก็เป็นอันกำหนดรู้ตัณหา 32 ประการ เมื่อกำหนดรู้ตัณหา
3 ประการได้แล้ว เรากล่าวว่าไม่มีสิ่งใดที่อริยสาวกพึงทำให้ยิ่งไปกว่านี้