เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
7. มหาวรรค 2. ทุติยอัสสุตวาสูตร

ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ ย่อมมนสิการปฏิจจสมุปบาทนั้นแหละโดย
แยบคาย ในกายและจิตนั้นว่า ‘เพราะเหตุนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น
สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
สุขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจากผัสสะนั้น
ก็ดับระงับไป
ทุกขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นแหละดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น
เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจากผัสสะนั้น
ก็ดับระงับไป
อทุกขมสุขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแหละดับไป อทุกขมสุขเวทนา
ที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งอทุกขมสุขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจาก
ผัสสะนั้น ก็ดับระงับไป
ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม้สองท่อนเสียดสีกันจึงเกิดความร้อนลุกเป็นไฟ แต่ถ้า
แยกไม้สองท่อนนั้นออกจากกัน ความร้อนที่เกิดจากการเสียดสีกันนั้น ก็จะดับมอดลง
แม้ฉันใด
สุขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนานั้นแหละดับไป สุขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจากผัสสะนั้น ก็ดับ
ระงับไป
ทุกขเวทนาเกิดขึ้น เพราะอาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา
เพราะผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนานั้นแหละดับไป ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเพราะ
อาศัยผัสสะที่เป็นปัจจัยแห่งทุกขเวทนา ซึ่งเสวยอารมณ์อันเกิดจากผัสสะนั้น ก็ดับ
ระงับไป

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :118 }