เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
6. ทุกขวรรค 6. ทุติยมหารุกขสูตร

ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) ทีนั้นบุรุษถือ
จอบและตะกร้าเดินมา ตัดต้นไม้ที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้นขุดลงไปแล้ว ก็ถอนราก
ใหญ่น้อย โดยที่สุดแม้เท่าก้านแฝกขึ้น บุรุษนั้นพึงตัดต้นไม้นั้นเป็นท่อนเล็กท่อน
ใหญ่แล้วพึงผ่า ครั้นผ่าแล้ว ทำให้เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยแล้วเกลี่ย ผึ่งลม ผึ่งแดด
ครั้นผึ่งลม ผึ่งแดดแล้ว เอาไฟเผา ครั้นเอาไฟเผาแล้ว ทำให้เป็นเขม่า ครั้นทำ
ให้เป็นเขม่าแล้ว พึงโปรยที่ลมแรงหรือลอยในแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว เมื่อเป็นอย่างนี้
ต้นไม้ใหญ่นั้นถูกตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณา
เห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมดับ เพราะ
ตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

มหารุกขสูตรที่ 5 จบ

6. ทุติยมหารุกขสูตร
ว่าด้วยต้นไม้ใหญ่ สูตรที่ 2

[56] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มี
พระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่มีรากหยั่งลงและแผ่ขยายไปรอบ ๆ
รากทั้งหมดนั้นย่อมดูดอาหารขึ้นไปข้างบน เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้นได้อาหาร
อย่างนั้น ได้สารอย่างนั้น พึงยืนต้นอยู่ได้ตลอดกาลนาน อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัย
แห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ฯลฯ
ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้ใหญ่ (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) ทีนั้นบุรุษถือจอบ
และตะกร้าเดินมา ตัดต้นไม้ที่โคนต้นแล้ว ขุดลงไป ครั้นขุดลงไปแล้ว ก็ถอนราก
ใหญ่น้อยแม้เท่าก้านแฝกขึ้น ฯลฯ หรือลอยในแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว เมื่อเป็น
อย่างนี้ ต้นไม้ใหญ่นั้นถูกตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :109 }


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
6. ทุกขวรรค 7. ตรุณรุกขสุตร

เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อ
ภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งอุปาทาน ตัณหาย่อมดับ
เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วย
ประการฉะนี้”

ทุติยมหารุกขสูตรที่ 6 จบ

7. ตรุณรุกขสูตร
ว่าด้วยต้นไม้อ่อน

[57] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค...
“ภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่
เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
เปรียบเหมือนต้นไม้อ่อน (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) บุรุษพึงถนอมรากพรวนดิน
รดน้ำสม่ำเสมอ เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้อ่อนนั้นได้อาหารอย่างนั้น ได้สารอย่างนั้น
พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณา
เห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย ที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมเจริญ
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้
ด้วยประการฉะนี้
เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์
ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์
ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นไม้อ่อน (ยืนต้นอยู่อย่างนั้น) ทีนั้นบุรุษถือจอบ
และตะกร้าเดินมา ฯลฯ หรือลอยในแม่น้ำที่มีกระแสเชี่ยว เมื่อเป็นอย่างนี้ ต้นไม้อ่อน
นั้น ถูกตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็น
โทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

ตรุณรุกขสูตรที่ 7 จบ