เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
6. ทุกขวรรค 4. ทุติยสังโยชนสูตร

เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษเนือง ๆ ในธรรมทั้งหลายที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์
ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ อุปาทานจึงดับ เพราะอุปาทานดับ ภพจึงดับ
เพราะภพดับ ชาติจึงดับ เพราะชาติดับ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงดับ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้
ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันพึงติดไฟได้ ก็เพราะอาศัยน้ำมัน
และไส้ บุรุษไม่เติมน้ำมันและไม่ใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุก ๆ ระยะ เมื่อเป็นอย่างนี้
ประทีปน้ำมันนั้น ไม่ได้อาหารอย่างนั้น ไม่ได้เชื้ออย่างนั้น พึงดับไป เพราะสิ้น
เชื้อเก่าและไม่เติมเชื้อใหม่ อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นโทษ
เนือง ๆ ในธรรมทั้งหลาย ที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมดับ เพราะตัณหาดับ
อุปาทานจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้”

สังโยชนสูตรที่ 3 จบ

4. ทุติยสังโยชนสูตร
ว่าด้วยสังโยชน์ สูตรที่ 2

[54] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ... เขตกรุงสาวัตถี ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค ...
“ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนประทีปน้ำมันพึงติดไฟได้ ก็เพราะอาศัยน้ำมัน
และไส้ บุรุษเติมน้ำมันและใส่ไส้ในประทีปน้ำมันนั้นทุก ๆ ระยะ เมื่อเป็นอย่างนี้
ประทีปน้ำมันนั้น ได้อาหารอย่างนั้น ได้เชื้ออย่างนั้น พึงลุกโพลงตลอดกาลนาน
อุปมานี้ฉันใด อุปไมยก็ฉันนั้น เมื่อภิกษุพิจารณาเห็นความพอใจเนือง ๆ ในธรรม
ที่เป็นปัจจัยแห่งสังโยชน์ ตัณหาย่อมเจริญ เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปาทานจึงมี
ฯลฯ ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ มีได้ด้วยประการฉะนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 16 หน้า :107 }