เมนู

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
6. ทุกขวรรค 1. ปริวีมังสนสูตร

ว่า ‘สังขารทั้งหลายมีอวิชชาเป็นเหตุ มีอวิชชาเป็นเหตุเกิด มีอวิชชาเป็นกำเนิด
มีอวิชชาเป็นแดนเกิด เมื่ออวิชชามี สังขารทั้งหลายจึงมี เมื่ออวิชชาไม่มี สังขาร
ทั้งหลายจึงไม่มี’
ภิกษุนั้นรู้ชัดสังขารทั้งหลาย จึงรู้ชัดความเกิดแห่งสังขาร รู้ชัดความดับแห่ง
สังขาร รู้ชัดปฏิปทาอันเหมาะสมที่ให้ถึงความดับแห่งสังขาร และเธอผู้ปฏิบัติ
อย่างนั้น ชื่อว่าผู้มีปกติประพฤติตามธรรม
ภิกษุทั้งหลาย เราเรียกภิกษุนี้ว่า เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความสิ้นทุกข์ เพื่อความดับ
แห่งสังขารโดยชอบ ทุกประการ
บุรุษบุคคล1นี้ตกอยู่ในอวิชชา ถ้าสังขารที่เป็นบุญปรุงแต่ง วิญญาณก็
ประกอบด้วยบุญ ถ้าสังขารที่เป็นบาปปรุงแต่ง วิญญาณก็ประกอบด้วยบาป
ถ้าสังขารที่เป็นอาเนญชาปรุงแต่ง วิญญาณก็ประกอบด้วยอาเนญชา ในกาลใด
ภิกษุละอวิชชาได้แล้ว วิชชาเกิดขึ้น ในกาลนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ปรุงแต่งปุญญาภิสังขาร2
อปุญญาภิสังขาร3และอาเนญชาภิสังขาร4 เพราะกำจัดอวิชชาได้ เพราะมีวิชชา
เกิดขึ้น เมื่อไม่ปรุงแต่ง ไม่จงใจ ก็ไม่ถือมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ถือมั่น ก็ไม่
สะดุ้งกลัว เมื่อไม่สะดุ้งกลัว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค [1. นิทานสังยุต]
6. ทุกขวรรค 1. ปริวีมังสนสูตร

ถ้าภิกษุนั้นเสวยสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘สุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่า
หมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘ทุกขเวทนา
นั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าหมกมุ่น’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ ถ้าเธอเสวย
อทุกขมสุขเวทนา ก็รู้ชัดว่า ‘อทุกขมสุขเวทนานั้นไม่เที่ยง’ รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าหมกมุ่น’
รู้ชัดว่า ‘ไม่น่าเพลิดเพลิน’ ถ้าเธอเสวยสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส) เสวย
สุขเวทนานั้น ถ้าเธอเสวยทุกขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส) เสวยทุกขเวทนานั้น
ถ้าเธอเสวยอทุกขมสุขเวทนา ก็เป็นผู้ปราศจาก(กิเลส) เสวยอทุกขมสุขเวทนานั้น
ภิกษุนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนาที่มีกาย
เป็นที่สุด’ เมื่อเสวยเวทนาที่มีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนาที่มีชีวิต
เป็นที่สุด’ รู้ชัดว่า ‘หลังจากตายแล้ว การเสวยอารมณ์ทั้งหมด ไม่น่าเพลิดเพลิน
จักเย็น จักเหลืออยู่เพียงสรีรธาตุในโลกนี้เท่านั้น’
เปรียบเหมือนบุรุษยกหม้อที่ร้อนออกจากเตาเผาหม้อ วางบนพื้นที่เรียบ
ไออุ่นที่หม้อนั้นพึงหายไป เหลืออยู่เพียงกระเบื้องหม้อเท่านั้น อุปมานี้ฉันใด อุปไมย
ก็ฉันนั้น ภิกษุเมื่อเสวยเวทนาที่มีกายเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนาที่มีกาย
เป็นที่สุด’ เมื่อเสวยเวทนาที่มีชีวิตเป็นที่สุด ก็รู้ชัดว่า ‘เราเสวยเวทนาที่มีชีวิตเป็น
ที่สุด’ รู้ชัดว่า ‘หลังจากตายแล้ว การเสวยอารมณ์ทั้งหมด ไม่น่าเพลิดเพลิน
จักเย็น จักเหลืออยู่เพียงสรีรธาตุในโลกนี้เท่านั้น’
เธอทั้งหลายจะเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุผู้ขีณาสพพึงปรุงแต่ง
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขารบ้างหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”
“อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสังขารทั้งหลายไม่มีโดยประการทั้งปวง เพราะสังขารดับ
วิญญาณพึงปรากฏหรือ”
“ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า”