เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 9. สุภสูตร

“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร บุรุษผู้เจริญเติบโตในบ้านนฬการคามนี้
ออกจากบ้านนฬการคามไปในขณะนั้นถูกถามถึงทางไปบ้านนฬการคาม จะต้องมี
ความชักช้าหรืออึกอักไหม”
“ไม่ชักช้า ไม่อึกอักเลย ท่านพระโคดม ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุรุษโน้น
เจริญเติบโตอยู่ในบ้านนฬการคามนั่นเอง ต้องรู้จักทางของบ้านนฬการคามทุกแห่ง
เป็นอย่างดี”
“การที่บุรุษเจริญเติบโตอยู่ในบ้านนฬการคามนั้น ถูกถามถึงทางไปบ้าน
นฬการคาม จะไม่ตอบชักช้าหรืออึกอัก เมื่อตถาคตถูกถามถึงพรหมโลกหรือ
ข้อปฏิบัติให้ถึงพรหมโลก ก็ไม่ตอบชักช้าหรืออึกอักเช่นเดียวกัน เรารู้จักพรหมโลก
และข้อปฏิบัติให้ถึงพรหมโลกของพราหมณ์ทั้งหลาย ทั้งยังรู้วิธีที่คนปฏิบัติอย่างไร
จึงจะเข้าถึงพรหมโลกด้วย”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าได้ยินเรื่องนี้มาว่า พระสมณ-
โคดมทรงแสดงทางเพื่อเป็นสหายกับพรหม ขอโอกาส ขอท่านพระโคดมโปรดทรง
แสดงทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหมแก่ข้าพเจ้าด้วยเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
สุภมาณพผู้เป็นบุตรของโตเทยยพราหมณ์ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า

ทางไปพรหมโลก

[471] “มาณพ ทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ มีเมตตาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ 1 อยู่ ทิศที่ 2 ...
ทิศที่ 3 ... ทิศที่ 4 ... ทิศเบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุก
หมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วยเมตตาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร
ไม่มีความเบีบดเบียนอยู่ เมื่อภิกษุนั้นเจริญเมตตาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใด

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :595 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 9. สุภสูตร

เป็นประมาณ1ที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น2
คนแข็งแรงเป่าสังข์พึงให้คนรู้ตลอดทิศทั้ง 4 ได้โดยไม่ยากเลย แม้ฉันใด เมื่อภิกษุ
นั้นเจริญเมตตาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว กรรมนั้น
จักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน นี้เป็นทาง
เพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม
มีกรุณาจิต ฯลฯ
มีมุทิตาจิต ฯลฯ
มีอุเบกขาจิต แผ่ไปตลอดทิศที่ 1 อยู่ ทิศที่ 2 ... ทิศที่ 3 ... ทิศที่ 4 ... ทิศ
เบื้องบน ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่า ในที่ทุกสถานด้วย
อุเบกขาจิตอันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่
เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว
กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น
มาณพ คนแข็งแรง เป่าสังข์พึงให้คนรู้ตลอดทิศทั้ง 4 ได้โดยไม่ยาก แม้ฉันใด
เมื่อภิกษุนั้นเจริญอุเบกขาเจโตวิมุตติอย่างนี้แล้ว กรรมใดเป็นประมาณที่ภิกษุทำแล้ว
กรรมนั้นจักไม่เหลืออยู่ ไม่คงอยู่ในกรรมอันเป็นรูปาวจรนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
นี้เป็นทางเพื่อเข้าถึงความเป็นผู้อยู่ร่วมกับพรหม”
[472] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สุภมาณพผู้เป็นบุตรของ
โตเทยยพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่ท่านพระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่ท่าน
พระโคดม พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรม
แจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอก
ทางแก่คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืดด้วยตั้งใจว่า ‘คนมีตาดีจักเห็นรูปได้’