เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 9. สุภสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ เป็นไปไม่ได้เลยที่บุคคลจะพึงจุดไฟที่ไม่มี
หญ้าและไม้เป็นเชื้อขึ้นได้ นอกจากผู้ที่มีฤทธิ์ อุปมาเหมือนไฟอาศัยหญ้าและไม้เป็น
เชื้อจึงลุกโพลงขึ้นได้ แม้ฉันใด เรากล่าวปีติอันอาศัยกามคุณ 5 ประการว่ามีอุปมา
ฉันนั้นเหมือนกัน อุปมาเหมือนไฟที่ไม่มีหญ้าและไม้เป็นเชื้อลุกโพลงขึ้นได้ แม้ฉันใด
เรากล่าวปีติที่เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลายว่ามีอุปมาฉันนั้นเหมือนกัน
ปีติที่เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ปีตินี้เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย
มาณพ อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ อยู่ แม้ปีตินี้ก็เว้นจากกาม และอกุศลธรรมทั้งหลาย
[469] มาณพ ในธรรม 5 ประการที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติเพื่อทำบุญ
เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จนี้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมข้อไหนว่ามีผลมากกว่า”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ในธรรม 5 ประการที่พราหมณ์ทั้งหลาย
บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จนี้ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมคือจาคะ
ว่ามีผลมากกว่า”
พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “มาณพ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ณ ที่นี้
จะพึงมีมหายัญเกิดขึ้นแก่พราหมณ์คนหนึ่ง ครั้งนั้น พราหมณ์ 2 คนพากันมาด้วย
หวังว่า ‘จักเสวยมหายัญของพราหมณ์ชื่อนี้’ ในพราหมณ์ 2 คนนั้น คนหนึ่งมี
ความคิดอย่างนี้ว่า ‘โอ เราเท่านั้น ควรจะได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ และอาหารที่เลิศ
ในโรงภัต พราหมณ์อื่นไม่ควรได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ และอาหารที่เลิศในโรงภัตเลย’
เป็นไปได้ที่พราหมณ์คนอื่นจะพึงได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ และอาหารที่เลิศในโรงภัต
ส่วนพราหมณ์ผู้ไม่ได้ย่อมโกรธไม่พอใจว่า ‘พราหมณ์อื่นได้อาสนะที่เลิศ น้ำที่เลิศ
และอาหารที่เลิศในโรงภัต ส่วนเรากลับไม่ได้’
มาณพ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติผลแห่งกรรมนี้ไว้อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :592 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 9. สุภสูตร

สุภมาณพทูลตอบว่า “ท่านพระโคดม ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานด้วย
คิดอย่างนี้ว่า ‘พราหมณ์นั้นถูกพราหมณ์ผู้นี้ทำให้โกรธ ทำให้ไม่พอใจ’ ก็หามิได้
โดยที่แท้ในเรื่องนี้ พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอันเป็นการอนุเคราะห์กันเท่านั้น”
“เมื่อเป็นเช่นนั้น ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอันเป็นการอนุเคราะห์กันนี้
ก็เป็นบุญกิริยาวัตถุข้อที่ 6 ของพราหมณ์ทั้งหลายหรือ”
“ท่านพระโคดม เมื่อเป็นเช่นนี้ ข้อที่พราหมณ์ทั้งหลายให้ทานอันเป็นการ
อนุเคราะห์นี้ ก็จักเป็นบุญกิริยาวัตถุข้อที่ 6 ของพราหมณ์ทั้งหลาย”
“ธรรม 5 ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรม
ให้สำเร็จ ท่านพิจารณาเห็นมีมากในพวกไหน ในพวกคฤหัสถ์หรือพวกบรรพชิต”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ธรรม 5 ประการนี้ ที่พราหมณ์ทั้งหลาย
บัญญัติเพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ ข้าพเจ้าพิจารณาเห็นมีมากในบรรพชิต
มีน้อยในคฤหัสถ์ เพราะคฤหัสถ์มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ
เพียรมาก จะเป็นผู้พูดจริงเสมอตลอดไปไม่ได้ ส่วนบรรพชิตมีความต้องการน้อย
มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย จึงเป็นผู้พูดจริงเสมอไป เพราะคฤหัสถ์มี
ความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก จะเป็นผู้มีความเพียร
เสมอตลอดไปไม่ได้
... จะเป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
... จะเป็นผู้มากด้วยการสาธยาย
... จะเป็นผู้มากด้วยการบริจาค ...
ส่วนบรรพชิตมีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย
จึงเป็นผู้มีความเพียรเสมอตลอดไปได้
... เป็นผู้ประพฤติพรหมจรรย์
... เป็นผู้มากด้วยการสาธยาย
... เป็นผู้มากด้วยการบริจาค ...

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :593 }