เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 9. สุภสูตร

ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียร
มาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการไถ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก
มีความเพียรมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ส่วนฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความ
เพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการไถนั่นแหละที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่อง
มาก มีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก
ฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความ
เพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่อง
น้อย มีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ส่วนฐานะแห่งการงานที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย
มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก เป็นอย่างไร
คือ ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายนั่นแหละที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย
มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก
[464] มาณพ ฐานะแห่งการงานคือการไถ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก
มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงาน
ของฆราวาส ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ฐานะแห่งการงานคือการไถนั่นแหละ ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก
มีความเพียรมาก เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานของ
ฆราวาส ที่มีความต้องการมาก มีกิจมาก มีเรื่องมาก มีความเพียรมาก ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก
ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย
มีความเพียรน้อย เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่ายบรรพชิต

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :585 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 9. สุภสูตร

ที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อวิบัติย่อมมีผลน้อย
ฐานะแห่งการงานคือการค้าขายนั่นแหละที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่อง
น้อย มีความเพียรน้อย เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก แม้ฉันใด ฐานะแห่งการงานฝ่าย
บรรพชิตที่มีความต้องการน้อย มีกิจน้อย มีเรื่องน้อย มีความเพียรน้อย ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เมื่อถึงพร้อมย่อมมีผลมาก”

บัญญัติธรรม 5 ประการ

สุภมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมไว้
5 ประการ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มาณพ พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรม
5 ประการใดไว้เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ ถ้าเธอไม่หนักใจ ดีละ เธอจง
กล่าวธรรม 5 ประการนั้นในบริษัทนี้เถิด”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดมผู้เจริญ ณ ที่ที่พระองค์หรือบุคคลเช่น
กับพระองค์ประทับนั่งอยู่ ข้าพระองค์ไม่มีความหนักใจเลย”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มาณพ ถ้าเช่นนั้น เธอจงกล่าวเถิด”
สุภมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรมข้อ
ที่ 1 คือสัจจะ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ
บัญญัติธรรมข้อที่ 2 คือตบะ ...
บัญญัติธรรมข้อที่ 3 คือพรหมจรรย์ ...
บัญญัติธรรมข้อที่ 4 คือการเรียนมนตร์ ...
บัญญัติธรรมข้อที่ 5 คือการบริจาค เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรมให้สำเร็จ
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติธรรม 5 ประการนี้ไว้ เพื่อทำบุญ เพื่อยังกุศลธรรม
ให้สำเร็จ ในเรื่องนี้ ท่านพระโคดมจะตรัสว่าอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :586 }