เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 6. เอสุการีสูตร

ท่านพระโคดม พราหมณ์ทั้งหลายย่อมบัญญัติทรัพย์ไว้ 4 ชนิดนี้ ในเรื่องนี้
ท่านพระโคดมจะตรัสว่าอย่างไร”
[441] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “พราหมณ์ ชาวโลกทั้งปวงเห็นด้วยกับ
คำนั้นว่า ‘พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ไว้ 4 ชนิดเท่านี้หรือ”
เอสุการีพราหมณ์ทูลตอบว่า “ไม่ใช่ ท่านพระโคดม”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “พราหมณ์ บุรุษผู้ขัดสน ไม่มีทรัพย์สินสิ่งไรเป็น
ของตน ยากจน ชนทั้งหลายแขวนก้อนเนื้ออาบยาพิษไว้สำหรับเขาซึ่งไม่ชอบพอกัน
โดยแกล้งพูดว่า ‘พ่อคุณ เชิญท่านกินเนื้อนี้ แต่ต้องจ่ายค่าเนื้อเพิ่มขึ้น’ แม้ฉันใด
พราหมณ์ทั้งหลายบัญญัติทรัพย์ไว้ 4 ประเภท แก่สมณพราหมณ์เหล่านั้นฝ่ายเดียว
โดยไม่มีฝ่ายอื่นยินยอม ฉันนั้นเหมือนกัน
แต่เราบัญญัติโลกุตตรธรรมอันเป็นอริยะว่าเป็นทรัพย์ของบุคคล เมื่อเขาระลึกถึง
วงศ์ตระกูลเก่าอันเป็นของมารดาบิดา อัตภาพเกิดในวงศ์ตระกูลใด ๆ ก็นับตามวงศ์
ตระกูลนั้น ๆ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลกษัตริย์ก็นับว่า ‘เป็นกษัตริย์’ ถ้าอัตภาพเกิด
ในตระกูลพราหมณ์ก็นับว่า ‘เป็นพราหมณ์’ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลแพศย์ก็นับว่า
‘เป็นแพศย์’ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลศูทรก็นับว่า ‘เป็นศูทร’ เปรียบเหมือนไฟอาศัย
เชื้อใดๆ ติดขึ้นก็นับตามเชื้อนั้น ๆ ถ้าไฟอาศัยไม้ติดขึ้น ก็นับว่า ‘เป็นไฟไม้’ ถ้าอาศัย
หยากเยื่อติดขึ้น ก็นับว่า ‘เป็นไฟหยากเยื่อ’ ถ้าอาศัยหญ้าติดขึ้น ก็นับว่า ‘เป็นไฟหญ้า’
ถ้าอาศัยมูลโคติดขึ้นก็นับว่า ‘เป็นไฟมูลโค’ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน บัญญัติ
โลกุตตรธรรมอันเป็นอริยะว่าเป็นทรัพย์ของบุคคล เมื่อเขาระลึกถึงวงศ์ตระกูลเก่าอันเป็น
ของมารดาบิดา อัตภาพเกิดในตระกูลใด ๆ ก็นับตามตระกูลนั้น ๆ ถ้าอัตภาพเกิดใน
ตระกูลกษัตริย์ ก็นับว่า ‘เป็นกษัตริย์’ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลพราหมณ์ ก็นับว่า
‘เป็นพราหมณ์’ ถ้าอัตภาพเกิดในตระกูลแพศย์ ก็นับว่า ‘เป็นแพศย์’ ถ้าอัตภาพเกิด
ในตระกูลศูทร ก็นับว่า ‘เป็นศูทร’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :552 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 6. เอสุการีสูตร

คนจะดีหรือชั่วมิใช่เพราะตระกูล

พราหมณ์ ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลกษัตริย์บวชเป็นบรรพชิต และเขา
อาศัยธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจาก
การลักทรัพย์ เว้นขาดจากพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการ
พูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการ
พูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ
ยินดีกุศลธรรมอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลพราหมณ์ ฯลฯ
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลแพศย์ ฯลฯ
ถ้าแม้กุลบุตรออกจากตระกูลศูทรบวชเป็นบรรพชิต และเขาอาศัยธรรมวินัยที่
ตถาคตประกาศแล้ว เป็นผู้เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาด
จากพฤติกรรมอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจาก
การพูดส่อเสียด เว้นขาดจากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็ง
อยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ ยินดีกุศลธรรมอันเป็นเครื่อง
นำออกจากทุกข์
[442] พราหมณ์ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในประเทศนี้พราหมณ์
เท่านั้นหรือย่อมสามารถเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน กษัตริย์
แพศย์ ศูทร ไม่สามารถหรือ”
เอสุการีพราหมณ์กราบทูลว่า “ไม่ใช่เช่นนั้น ท่านพระโคดม ในประเทศนี้แม้
กษัตริย์ก็สามารถเจริญเมตตาจิตอันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนได้
แม้พราหมณ์ ฯลฯ
แม้แพศย์ ฯลฯ
แม้ศูทร ฯลฯ
ข้าแต่ท่านพระโคดม ความจริง ในประเทศนี้ แม้วรรณะ 4 ทั้งหมดก็สามารถ
เจริญเมตตาจิต อันไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :553 }