เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 5. จังกีสูตร

ตรัสตอบถึงการรู้สัจจะ

[430] กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม การรักษาสัจจะย่อมมี
ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ บุคคลชื่อว่ารักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเรา
ทั้งหลายย่อมหวังการรักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การรู้สัจจะย่อมมีด้วยข้อ
ปฏิบัติเพียงเท่าไร บุคคลย่อมรู้สัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่าไร ข้าพเจ้าขอทูลถาม
ท่านพระโคดมถึงการรู้สัจจะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เข้าไปอาศัยบ้าน
หรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ คหบดีก็ดี บุตรของคหบดีก็ดี เข้าไปหาภิกษุนั้นแล้ว
ใคร่ครวญในธรรม 3 ประการ คือ (1) ในธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะ(ความโลภ)
(2) ในธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ(การประทุษร้าย) (3) ในธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
โมหะ(ความหลง) ว่า ‘ท่านผู้นี้มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะ หรือไม่หนอ (เพราะว่า)
ผู้มีจิตถูกธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดความโลภครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’
เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล
เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น ก็จะพึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้นได้หรือหนอ’
เมื่อเขาพิจารณาถึงภิกษุนั้นอยู่ จึงรู้ได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิด
โลภะ (เพราะว่า)ผู้มีจิตถูกธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็กล่าว
ว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็นก็กล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น ท่านผู้นี้พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์
แก่สิ่งนั้น
อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนผู้ไม่โลภ ท่านผู้นี้แสดงธรรม
อันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเองไม่ได้ เป็นธรรม
ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ไม่ใช่ธรรมที่คนโลภจะแสดงได้ง่าย’
[431] เมื่อใดเขาพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ ย่อมเห็นชัดว่า เธอบริสุทธิ์จาก
ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโลภะแล้ว เมื่อนั้นเขาพิจารณาภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมที่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :540 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 5. จังกีสูตร

เป็นเหตุให้เกิดโทสะว่า ‘ท่านผู้นี้มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ มีจิตถูกธรรมที่เป็น
เหตุให้เกิดโทสะครอบงำ เมื่อไม่รู้ก็จะกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็นก็จะกล่าวว่า
‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
แก่ผู้อื่น ก็จะพึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น’ เขาเมื่อพิจารณาภิกษุนั้นอยู่
ย่อมรู้ได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ (เพราะว่า)ผู้มีจิตถูก
ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อ
ไม่เห็นก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์
เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น
อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนผู้ไม่ประทุษร้าย ท่านผู้นี้แสดง
ธรรมอันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเองไม่ได้ เป็นธรรม
ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ไม่ใช่ธรรมที่คนประทุษร้ายจะแสดงได้ง่าย’
[432] เมื่อใด เขาพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ย่อมเห็นชัดว่า เธอบริสุทธิ์จาก
ธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโทสะ เมื่อนั้นเขาย่อมพิจารณาภิกษุนั้นให้ยิ่งขึ้นไปในธรรมที่
เป็นเหตุให้เกิดโมหะว่า ‘ท่านผู้นี้มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโมหะ มีจิตถูกธรรมที่เป็น
เหตุให้เกิดโมหะครอบงำ เมื่อไม่รู้ก็จะกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็นก็จะกล่าวว่า
‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน
แก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น’ เขาเมื่อพิจารณาภิกษุนั้นอยู่ ย่อมรู้
ได้อย่างนี้ว่า ‘ท่านผู้นี้ไม่มีธรรมที่เป็นเหตุให้เกิดโมหะ (เพราะว่า)ผู้มีจิตถูกธรรมที่
เป็นเหตุให้เกิดโมหะครอบงำแล้ว เมื่อไม่รู้ก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้ารู้’ เมื่อไม่เห็น
ก็จะพึงกล่าวว่า ‘ข้าพเจ้าเห็น’ หรือสิ่งใดจะพึงเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ทุกข์สิ้นกาลนานแก่ผู้อื่น พึงชักชวนผู้อื่นเพื่อประโยชน์แก่สิ่งนั้น
อนึ่ง ท่านผู้นี้มีกายสมาจาร วจีสมาจาร เหมือนผู้ไม่หลง ท่านผู้นี้แสดงธรรม
อันลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต คาดคะเนเองไม่ได้ เป็นธรรม
ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ไม่ใช่ธรรมที่คนหลงจะแสดงได้ง่าย’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :541 }