เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 5. จังกีสูตร

ธรรม 5 ประการมีผลเป็น 2 อย่าง

[428] ภารทวาชะ คนตาบอดเข้าแถวเกาะหลังกัน คนอยู่หัวแถว คนอยู่
กลางแถว และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน แม้ฉันใด ภาษิตของพราหมณ์
ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นจะเปรียบได้กับแถวคนตาบอด คือ แม้คนอยู่
หัวแถว คนอยู่กลางแถว และคนอยู่ปลายแถว ต่างก็มองไม่เห็นกัน ท่านเข้าใจ
ความข้อนั้นว่าอย่างไร เมื่อเป็นเช่นนั้น ความเชื่อของพราหมณ์ทั้งหลายย่อมหา
มูลมิได้ มิใช่หรือ”
กาปทิกมาณพกราบทูลว่า “ท่านพระโคดม ในข้อนี้พราหมณ์ทั้งหลายมิใช่
เล่าเรียนกันมาด้วยความเชื่ออย่างเดียว แต่เล่าเรียนด้วยการฟังตามกันมา”
“ภารทวาชะ ครั้งแรกท่านได้อ้างถึงความเชื่อ บัดนี้ท่านอ้างถึงการฟังตาม
กันมา ธรรม 5 ประการนี้มีผลเป็น 2 อย่างในปัจจุบัน
ธรรม 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. ศรัทธา (ความเชื่อ)
2. รุจิ (ความชอบใจ)
3. อนุสสวะ (การฟังตามกันมา)
4. อาการปริวิตก (ความตรึกตามอาการ)
5. ทิฏฐินิชฌานขันติ (ความเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้)
ธรรม 5 ประการนี้แล มีผลเป็น 2 อย่างในปัจจุบัน คือ
สิ่งที่เชื่อกันด้วยดีแต่สิ่งนั้นกลับเป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี สิ่งที่ไม่เชื่อกันด้วยดี
แต่สิ่งนั้นกลับเป็นจริงแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี
สิ่งที่ชอบใจจริง ๆ ฯลฯ
สิ่งที่ฟังตามกันมาอย่างดี ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :538 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 5. จังกีสูตร

สิ่งที่ตรึกไว้อย่างดี ฯลฯ
สิ่งที่พินิจไว้อย่างดี แต่สิ่งนั้นกลับเป็นของว่างเปล่าเป็นเท็จไปก็มี สิ่งที่ไม่ได้พินิจ
ไว้อย่างดี แต่สิ่งนั้นกลับเป็นจริงแท้ ไม่เป็นอื่นก็มี
ภารทวาชะ คนผู้ฉลาดเมื่อจะตามรักษาสัจจะ ไม่ควรจะตกลงใจในข้อนั้นอย่าง
เด็ดขาดว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง”

ตรัสตอบถึงการรักษาสัจจะ

[429] กาปทิกมาณพทูลถามว่า “ท่านพระโคดม ด้วยข้อปฏิบัติประมาณ
เท่าไร การรักษาสัจจะจึงมีได้ บุคคลชื่อว่ารักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติประมาณเท่าไร
ข้าพเจ้าขอทูลถามท่านพระโคดมถึงการรักษาสัจจะ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ภารทวาชะ ถ้าบุรุษมีศรัทธา กล่าวว่า ‘เรามี
ศรัทธาอย่างนี้’ ชื่อว่ารักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่ามีความตกลงใจโดยเด็ดขาดว่า
‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ การรักษาสัจจะย่อมมีได้
บุคคลชื่อว่ารักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการรักษาสัจจะ
ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการรู้สัจจะก่อน
ถ้าบุรุษมีความชอบใจ ฯลฯ
ถ้าบุรุษมีการฟังตามกันมา ฯลฯ
ถ้าบุรุษมีความตรึกตามอาการ ฯลฯ
ถ้าบุรุษมีความพินิจที่เข้ากันได้กับทฤษฎีของตน เขากล่าวอย่างนี้ว่า ‘เรามี
ความพินิจที่เข้ากันได้กับทฤษฎีของตนอย่างนี้’ ชื่อว่ารักษาสัจจะ แต่ยังไม่ชื่อว่าถึง
ความตกลงใจโดยเด็ดขาดว่า ‘นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
ภารทวาชะ ด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้การรักษาสัจจะย่อมมีได้ บุคคลชื่อว่า
รักษาสัจจะด้วยข้อปฏิบัติเพียงเท่านี้ และเราย่อมบัญญัติการรักษาสัจจะด้วยข้อ
ปฏิบัติเพียงเท่านี้ แต่ยังไม่ชื่อว่าเป็นการรู้สัจจะก่อน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :539 }