เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 4. โฆฏมุขสูตร

บุคคลใดไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และ
เป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลนั้น
ชื่อว่าไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ
มีตนอันประเสริฐเสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน
พราหมณ์ ท่านเห็นบุคคลเช่นไรในบริษัทไหนมาก คือในบริษัทผู้กำหนัดยินดี
ในแก้วมณีและกุณฑล แสวงหาบุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย นา สวน ทอง
และเงิน และในบริษัทผู้ไม่กำหนัดยินดีในต่างหูแก้วมณี ละทิ้งบุตร ภรรยา ทาสหญิง
ทาสชาย นา สวน ทอง และเงิน แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต”
โฆฏมุขพราหมณ์กล่าวว่า “ท่านอุเทน บุคคลใดไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่น
ประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบ
ในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลนั้นชื่อว่าไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
นั้น เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน
ข้าพเจ้าเห็นบุคคลนี้มีมากในบริษัทผู้ไม่กำหนัดยินดีในเมื่อมีต่างหูแก้วมณี
ละทิ้งบุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย นา สวน ทอง และเงิน แล้วออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิต”
“พราหมณ์ ในบัดนี้นั่นเอง เราย่อมรู้คำที่ท่านกล่าวแล้วอย่างนี้ว่า ‘สมณะ
ผู้เจริญ การบวชที่ถูกต้องไม่มี ในการบวชนี้ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ เพราะในการ
บวชนี้บัณฑิตทั้งหลายเช่นท่านก็ยังไม่เห็นธรรม”
“ท่านอุเทน วาจาที่ท่านกล่าวแก่ข้าพเจ้านั้น เป็นวาจามีเหตุสนับสนุนโดยแท้
การบวชที่ถูกต้องมีจริง ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้ามีความเห็นอย่างนี้ และขอท่านอุเทน
โปรดจำข้าพเจ้าไว้อย่างนี้ อนึ่งบุคคล 4 จำพวกนี้ ท่านอุเทนกล่าวโดยย่อ ไม่จำแนก
โดยพิสดาร ขอโอกาสเถิดท่าน ขอท่านอุเทนช่วยอนุเคราะห์จำแนกบุคคล 4 จำพวกนี้
ให้ข้าพเจ้าฟังโดยพิสดารด้วยเถิด”
“พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
โฆฏมุขพราหมณ์รับคำแล้ว ท่านพระอุเทนได้กล่าวว่า

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :519 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [5. พราหมณวรรค] 4. โฆฏมุขสูตร

ติตถิยวัตร

[415] “บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้
เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท เลียมือ
เขาเชิญให้ไปรับอาหารก็ไม่ไป เขาเชิญให้หยุดรับอาหารก็ไม่หยุด ไม่รับอาหารที่เขา
แบ่งไว้ ไม่รับอาหารที่เขาทำเจาะจง ไม่ยินดีอาหารที่เขาเชิญ ไม่รับอาหารจาก
ปากหม้อ ไม่รับอาหารจากปากภาชนะ ไม่รับอาหารคร่อมธรณีประตู ไม่รับอาหาร
คร่อมท่อนไม้ ไม่รับอาหารคร่อมสาก ไม่รับอาหารของคน 2 คนที่กำลังบริโภค
ไม่รับอาหารของหญิงมีครรภ์ ไม่รับอาหารของหญิงผู้กำลังให้บุตรดื่มนม ไม่รับ
อาหารของหญิงที่คลอเคลียชาย ไม่รับอาหารที่นัดแนะกันทำไว้ ไม่รับอาหารในที่
เลี้ยงสุนัข ไม่รับอาหารในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ๆ ไม่กินปลา ไม่กินเนื้อ
ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มยาดอง รับอาหารในเรือนหลังเดียว ยังชีพด้วยข้าว
คำเดียว รับอาหารในเรือน 2 หลัง ยังชีพด้วยข้าว 2 คำ ฯลฯ รับอาหารในเรือน
7 หลัง ยังชีพด้วยข้าว 7 คำ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย 1 ใบ ยังชีพด้วย
อาหารในถาดน้อย 2 ใบ ยังชีพด้วยอาหารในถาดน้อย 3 ใบ ฯลฯ ยังชีพด้วย
อาหารในถาดน้อย 7 ใบ กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน 1 วัน กินอาหารที่เก็บไว้
ค้างคืน 2 วัน ฯลฯ กินอาหารที่เก็บไว้ค้างคืน 7 วัน ถือการบริโภคอาหาร
15 วันต่อ 1 มื้ออยู่ ด้วยประการอย่างนี้
เขาเป็นผู้กินผักดองเป็นอาหาร กินข้าวฟ่างเป็นอาหาร กินลูกเดือยเป็นอาหาร
กินกากข้าวเป็นอาหาร กินสาหร่ายเป็นอาหาร กินรำเป็นอาหาร กินข้าวตังเป็น
อาหาร กินกำยานเป็นอาหาร กินหญ้าเป็นอาหาร กินมูลโคเป็นอาหาร กินเหง้า
และผลไม้ป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นยังชีพ เขานุ่งห่มผ้าป่าน นุ่งห่มผ้าแกมกัน
นุ่งห่มผ้าห่อศพ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล นุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ นุ่งห่มหนังเสือ นุ่งห่มหนัง
เสือมีเล็บ นุ่งห่มผ้าคากรอง นุ่งห่มผ้าเปลือกปอกรอง นุ่งห่มผ้าผลไม้กรอง นุ่งห่ม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :520 }