เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [1. คหปติวรรค] 5. ชีวกสูตร

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก ข้าแต่
พระองค์ผู้เจริญ พระภาษิตของพระองค์ชัดเจนไพเราะยิ่งนัก พระผู้มีพระภาคทรง
ประกาศธรรมแจ่มแจ้งโดยประการต่าง ๆ เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ผู้หลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยตั้งใจว่า ‘คนมี
ตาดีจักเห็นรูปได้’ ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาค พร้อมทั้งพระธรรมและ
พระสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงจำข้าพระองค์ว่าเป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะ
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปจนตลอดชีวิต” ดังนี้แล

โปตลิยสูตรที่ 4 จบ

5. ชีวกสูตร
ว่าด้วยหมอชีวกโกมารภัจ

[51] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ สวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจ
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล หมอชีวกโกมารภัจเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้ฟังมาอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายฆ่าสัตว์
เจาะจงถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมก็ทรงทราบการนั้น แต่ก็ยังเสวยเนื้อที่
เขาฆ่าเจาะจงพระองค์ ที่เขาอาศัยพระองค์ทำ’
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลายฆ่าสัตว์เจาะจง
ถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมก็ทรงทราบการนั้น แต่ก็ยังเสวยเนื้อที่เขาฆ่า
เจาะจงพระองค์ ที่เขาอาศัยพระองค์ทำ’ ชนเหล่านั้นจะชื่อว่าพูดตรงตามที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้ ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำเท็จหรือ ชื่อว่ากล่าวแก้อย่าง
สมเหตุสมผลหรือ ไม่มีบ้างหรือที่คำกล่าวเช่นนั้นและคำที่กล่าวต่อ ๆ กันมา จะเป็น
เหตุให้ถูกตำหนิได้”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :48 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [1. คหปติวรรค] 5. ชีวกสูตร

เนื้อที่ควรฉันและไม่ควรฉัน

[52] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ชีวก ชนเหล่าใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘ชนทั้งหลาย
ฆ่าสัตว์เจาะจงถวายพระสมณโคดม พระสมณโคดมก็ทรงทราบการนั้น แต่ก็ยัง
เสวยเนื้อที่เขาฆ่าเจาะจงพระองค์ ที่เขาอาศัยพระองค์ทำ’ ชนเหล่านั้นไม่ชื่อว่าพูด
ตรงตามที่เรากล่าวไว้ แต่ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำเท็จ ที่ไม่มีอยู่
เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุไม่ควรฉันไว้ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ
1. เนื้อที่ตนเห็น1
2. เนื้อที่ตนได้ยิน
3. เนื้อที่ตนสงสัย
รากล่าวเนื้อที่ภิกษุไม่ควรฉันไว้ด้วยเหตุ 3 ประการนี้แล
เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุควรฉันไว้ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ
1. เนื้อที่ตนไม่เห็น
2. เนื้อที่ตนไม่ได้ยิน
3. เนื้อที่ตนไม่สงสัย
ชีวก เรากล่าวเนื้อที่ภิกษุควรฉันไว้ด้วยเหตุ 3 ประการนี้แล

การแผ่เมตตา

[53] ชีวก ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อาศัยบ้านหรือนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เธอ
มีเมตตาจิตแผ่ไปตลอดทิศที่ 1 อยู่ ทิศที่ 2 ... ทิศที่ 3 ... ทิศที่ 4 ... ทิศเบื้องบน
ทิศเบื้องล่าง ทิศเฉียง แผ่ไปตลอดโลกทั่วทุกหมู่เหล่าในที่ทุกสถาน ด้วยเมตตาจิต
อันไพบูลย์ เป็นมหัคคตะ ไม่มีขอบเขต ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียนอยู่ ด้วยประการ
อย่างนี้ คหบดีหรือบุตรคหบดีเข้าไปหาเธอแล้วนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหารในวันรุ่งขึ้น