เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [4. ราชวรรค] 10. กัณณกัตถลสูตร

คือช้างที่ควรฝึกก็ตาม ม้าที่ควรฝึกก็ตาม โคที่ควรฝึกก็ตาม ที่ยังไม่ได้ฝึก ยังไม่ได้
แนะนำ
มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร สัตว์คู่หนึ่งเป็น
ช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาฝึกดีแล้ว
แนะนำดีแล้ว สัตว์คู่หนึ่งที่ฝึกแล้วเท่านั้น พึงถึงเหตุของสัตว์ที่ฝึกแล้ว พึงบรรลุภูมิ
ของสัตว์ที่ฝึกแล้ว มิใช่หรือ ขอถวายพระพร”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร สัตว์คู่หนึ่งจะเป็นช้างที่ควรฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม
เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม เขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้แนะนำ สัตว์ที่เขาไม่ได้ฝึกเลย จะพึงถึงเหตุ
ของสัตว์ที่ฝึกแล้ว จะบรรลุถึงภูมิของสัตว์ที่ฝึกแล้ว เหมือนสัตว์คู่นั้นจะเป็นช้างที่ควร
ฝึกก็ตาม เป็นม้าที่ควรฝึกก็ตาม เป็นโคที่ควรฝึกก็ตาม ที่เขาฝึกแล้ว แนะนำดีแล้ว
ได้บ้างไหม ขอถวายพระพร”
พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลว่า “ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร อย่างนั้นเหมือนกัน เป็นไปไม่ได้เลย1ที่
อิฏฐผลใดอันบุคคลผู้มีศรัทธา มีอาพาธน้อย ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา ปรารภความเพียร
มีปัญญา พึงถึงอิฏฐผลนั้น บุคคลผู้ไม่มีศรัทธา2 มีอาพาธมาก โอ้อวด มีมารยา
เกียจคร้าน มีปัญญาทราม จักถึงได้ ขอถวายพระพร”
[380] พระเจ้าปเสนทิโกศล ทูลถามว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มี
พระภาคได้ตรัสสภาพที่เป็นเหตุ ทั้งยังตรัสสภาพที่เป็นผลว่า ‘วรรณะ 4 จำพวกนี้
คือ (1) กษัตริย์ (2) พราหมณ์ (3) แพศย์ (4) ศูทร ถ้าวรรณะ 4 จำพวกนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [4. ราชวรรค] 10. กัณณกัตถลสูตร

เป็นผู้ประกอบด้วยองค์ของภิกษุผู้มีความเพียร 5 ประการนี้และมีความเพียร
เหมือนกัน’ ในข้อนี้ วรรณะ 4 จำพวกนี้ จะพึงมีความผิดแผกแตกต่างกันบ้างไหม
พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “มหาบพิตร ในข้อนี้ อาตมภาพกล่าวว่าวรรณะ
4 จำพวกนี้ ไม่แตกต่างกันแม้แต่น้อย คือวิมุตติกับวิมุตติไม่แตกต่างกัน เปรียบเหมือน
บุรุษผู้เก็บไม้สักแห้งมาก่อไฟ ให้ลุกโพลงขึ้น ต่อมาบุรุษอีกคนหนึ่งเก็บไม้สาละแห้ง
มาก่อไฟให้ลุกโพลงขึ้น ต่อมาบุรุษอีกคนหนึ่งเก็บไม้มะม่วงแห้งมาก่อไฟให้ลุกโพลงขึ้น
ต่อมาบุรุษอีกคนหนึ่งเก็บไม้มะเดื่อแห้งมาก่อไฟ ให้ลุกโพลงขึ้น
มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร เปลวกับเปลว สีกับสี
แสงกับแสง ของไฟที่เกิดขึ้นมาจากไม้ต่าง ๆ กันนั้น จะพึงมีความแตกต่างกันบ้างไหม
ขอถวายพระพร”
“ไม่มีความแตกต่างกันเลย พระพุทธเจ้าข้า”
“อย่างนั้นเหมือนกัน มหาบพิตร เดชอันใดถูกความเพียรย่ำยีแล้ว เกิดขึ้นด้วย
ความเพียร ในเดชนั้นอาตมภาพไม่กล่าวว่าแตกต่างกัน คือวิมุตติกับวิมุตติไม่แตกต่างกัน
ขอถวายพระพร”
“พระผู้มีพระภาคตรัสสภาพที่เป็นเหตุ ทั้งตรัสสภาพอันเป็นผล เทวดามีจริงหรือ
พระพุทธเจ้าข้า”
“มหาบพิตร เพราะเหตุไร พระองค์จึงตรัสถามอย่างนี้ว่า ‘เทวดามีจริงหรือ
พระพุทธเจ้าข้า”
พระเจ้าปเสนทิโกศล กราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ถ้าเทวดามีจริง
เทวดาเหล่านั้นมาสู่โลกนี้หรือไม่มาสู่โลกนี้ พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :466 }