เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [4. ราชวรรค] 4. มธุรสูตร

จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
โยมมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง โยมเองก็ได้ฟังเรื่องนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
เช่นนั้น”
“ดีละ ดีละ มหาบพิตร เป็นความดีที่พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างนั้น
และเป็นสิ่งที่ดีที่พระองค์ได้ทรงสดับความข้อนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย พระองค์
ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ในโลกนี้ ฯลฯ แพศย์ในโลกนี้ ฯลฯ
ศูทรในโลกนี้ เมื่อเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด
จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ ใช่หรือไม่
หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้ว่าอย่างไร”
“ใช่ พระคุณเจ้ากัจจานะ อันที่จริงถึงจะเป็นพราหมณ์ ฯลฯ เป็นแพศย์ ฯลฯ
เป็นศูทร เมื่อเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการ
ประพฤติผิดในกาม เว้นขาดจากการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดส่อเสียด เว้นขาด
จากการพูดคำหยาบ เว้นขาดจากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น
มีจิตไม่พยาบาท เป็นสัมมาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์
โยมมีความเห็นในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง โยมเองก็ได้ฟังเรื่องนี้มาจากพระอรหันต์
ทั้งหลายเช่นนั้น”
“ดีละ ดีละ มหาบพิตร เป็นความดีที่พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนี้อย่างนั้น
และเป็นสิ่งที่ดีที่พระองค์ได้ทรงสดับความข้อนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย พระองค์
ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ 4 จำพวกนี้ย่อม
เป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในวรรณะ 4 จำพวกนี้ว่า
อย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :387 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [4. ราชวรรค] 4. มธุรสูตร

“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ 4 จำพวกนี้ก็เสมอกันหมด
แน่นอน ในวรรณะ 4 จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย”
“มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท
ของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้เท่านั้น”
[321] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง
เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร กษัตริย์ในโลกนี้พึงตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือน
หลังเดียว ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ ถ้าราชบุรุษทั้งหลายจับเขาได้แล้ว พึงแสดงว่า
‘ขอเดชะ ผู้นี้เป็นโจรประพฤติผิดต่อพระองค์ พระองค์ทรงประสงค์จะลงพระราช
อาชญาสถานใดแก่โจรนั้น ขอจงทรงโปรดให้ลงพระราชอาชญาสถานนั้นเถิด’ พระองค์
จะพึงโปรดให้ทำอย่างไรกับโจรนั้น”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ โยมก็ต้องให้ประหาร
ให้ผ่าอก ให้เนรเทศ หรือทำตามสมควรแก่เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมญานาม
ว่ากษัตริย์ของเขาเมื่อก่อนนั้นหายไปแล้ว(บัดนี้) เขาได้ชื่อว่า ‘เป็นโจรเท่านั้น ๋
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ในโลกนี้
ฯลฯ แพศย์ในโลกนี้ ฯลฯ ศูทรในโลกนี้พึงตัดช่องย่องเบา ปล้นเรือนหลังเดียว
ดักจี้ในทางเปลี่ยว เป็นชู้ ถ้าราชบุรุษทั้งหลายจับเขาได้แล้ว พึงแสดงว่า ‘ขอเดชะ
ผู้นี้เป็นโจรประพฤติผิดต่อพระองค์ พระองค์ทรงประสงค์จะลงพระราชอาชญาสถานใด
แก่โจรนั้น ขอจงทรงโปรดให้ลงพระราชอาชญาสถานนั้นเถิด’ พระองค์จะพึงโปรดให้
ทำอย่างไรกับโจรนั้น”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ โยมก็ต้องให้ประหาร ให้ผ่าอก ให้เนรเทศ หรือทำตาม
สมควรแก่เหตุ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะสมญานามว่าศูทรของเขาเมื่อก่อนนั้นหาย
ไปแล้ว เขาได้ชื่อว่า ‘เป็นโจรเท่านั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้
วรรณะ 4 จำพวกนี้ ย่อมเป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัย
ในวรรณะ 4 จำพวกนี้ว่าอย่างไร”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :388 }