เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [4. ราชวรรค] 4. มธุรสูตร

“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าแม้พราหมณ์
จะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้พราหมณ์(อื่น)
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อพราหมณ์นั้น
ใช่ไหม แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทร ฯลฯ แม้กษัตริย์ ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อพราหมณ์นั้นใช่ไหม”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าแม้พราหมณ์จะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก
เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้พราหมณ์(อื่น) ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้
ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อพราหมณ์นั้น แม้แพศย์ ฯลฯ แม้ศูทร ฯลฯ แม้กษัตริย์
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อพราหมณ์นั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าแม้แพศย์จะพึง
ทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้แพศย์(อื่น)
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อแพศย์นั้น
ใช่ไหม แม้ศูทร ฯลฯ แม้กษัตริย์ ฯลฯ แม้พราหมณ์ ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อแพศย์นั้นใช่ไหม”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าแม้แพศย์จะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก
เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้แพศย์(อื่น)ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้
ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อแพศย์นั้น แม้ศูทร ฯลฯ แม้กษัตริย์ ฯลฯ แม้พราหมณ์
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อแพศย์นั้น”
“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าแม้ศูทรจะพึง
ทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้ศูทร(อื่น)ก็จะพึง
ลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อศูทรนั้นใช่ไหม
แม้กษัตริย์ ฯลฯ แม้พรหมณ์ ฯลฯ แม้แพศย์ ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง
คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อศูทรนั้นใช่ไหม”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ ถ้าแม้ศูทรจะพึงทำให้ความต้องการทรัพย์ ข้าวเปลือก
เงิน หรือทองสำเร็จได้ แม้ศูทร(อื่น)ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้
ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อศูทรนั้น แม้กษัตริย์ ฯลฯ แม้พราหมณ์ ฯลฯ แม้แพศย์
ก็จะพึงลุกขึ้นก่อน นอนทีหลัง คอยรับใช้ ปฏิบัติให้ถูกใจ พูดไพเราะต่อศูทรนั้น”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :384 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [4. ราชวรรค] 4. มธุรสูตร

“มหาบพิตร พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าเมื่อเป็นอย่างนี้
วรรณะทั้ง 4 จำพวกนี้ย่อมเป็นผู้เสมอกัน ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยใน
วรรณะ 4 จำพวกนี้ว่าอย่างไร”
“พระคุณเจ้ากัจจานะ เมื่อเป็นอย่างนี้ วรรณะ 4 จำพวกนี้ก็เสมอกันหมด
แน่นอน ในวรรณะทั้ง 4 จำพวกนี้ โยมไม่เห็นความแตกต่างอะไรกันเลย”
“มหาบพิตร โดยปริยายนี้ พระองค์ทรงทราบเถิดว่า วาทะที่พวกพราหมณ์
กล่าวว่า ‘วรรณะที่ประเสริฐที่สุดคือพราหมณ์เท่านั้น วรรณะอื่นเลว ฯลฯ เป็นทายาท
ของพรหม’ นั่นเป็นคำโฆษณาในโลกนี้เท่านั้น”
[319] ท่านพระมหากัจจานะถวายพระพรว่า “มหาบพิตร พระองค์ทรง
เข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร กษัตริย์ในโลกนี้พึงฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิด
ในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของ
ของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ หลังจากตายแล้วพึงไปเกิดในอบาย ทุคติ
วินิบาต นรก1 ใช่หรือไม่ หรือพระองค์ทรงเข้าพระทัยในเรื่องนี้ว่าอย่างไร”
พระเจ้ามธุระ อวันตีบุตร ตรัสว่า “พระคุณเจ้ากัจจานะ อันที่จริงถึงจะเป็น
กษัตริย์เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ
พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิตพยาบาท เป็นมิจฉาทิฏฐิ
หลังจากสวรรคตแล้วพึงไปบังเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต นรก โยมมีความคิดเห็น
ในเรื่องนี้อย่างนี้ อนึ่ง โยมเองก็ได้ฟังมาจากพระอรหันต์ทั้งหลายเช่นนั้น”
“ดีละ ดีละ มหาบพิตร เป็นความดีที่พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนี้
อย่างนั้น และเป็นสิ่งที่ดีที่พระองค์ได้ทรงสดับความข้อนี้มาจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
พระองค์ทรงเข้าพระทัยความข้อนั้นว่าอย่างไร พราหมณ์ในโลกนี้ ฯลฯ แพศย์
ในโลกนี้ ฯลฯ ศูทรในโลกนี้ เมื่อฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ
พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เป็นผู้เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น มีจิต