เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [1. คหปติวรรค] 4. โปตลิยสูตร

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว”
โปตลิยคหบดีทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[33] “เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการฆ่าสัตว์ได้ เพราะ
อาศัยการไม่ฆ่าสัตว์’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ฆ่าสัตว์เพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้ฆ่าสัตว์ แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย
ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วติเตียนได้1 เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติเป็น
อันหวังได้เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย’ การฆ่าสัตว์นั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์2
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
การฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากการฆ่าสัตว์แล้ว อาสวะและความเร่าร้อน
ที่ทำความคับแค้น3 เหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการฆ่าสัตว์ได้
เพราะอาศัยการไม่ฆ่าสัตว์’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[34] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการลักทรัพย์ได้เพราะ
อาศัยการไม่ลักทรัพย์’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้ลักทรัพย์เพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [1. คหปติวรรค] 4. โปตลิยสูตร

อนึ่ง เราเป็นผู้ลักทรัพย์ แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะการลักทรัพย์เป็น
ปัจจัย ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย หลังจากตาย
แล้วทุคติเป็นอันหวังได้เพราะการลักทรัพย์เป็นปัจจัย’ การลักทรัพย์นั่นเองเป็น
สังโยชน์ เป็นนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
การลักทรัพย์เป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากการลักทรัพย์แล้ว อาสวะและความ
เร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการ
ลักทรัพย์ได้ เพราะอาศัยการไม่ลักทรัพย์’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[35] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการพูดเท็จได้ เพราะอาศัย
การพูดจริง’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้พูดเท็จเพราะ
เหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย
อนึ่ง เราเป็นผู้พูดเท็จ แม้ตนเองก็ยังติเตียนตนได้เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย
ผู้รู้ใคร่ครวญแล้วพึงติเตียนได้เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย หลังจากตายแล้วทุคติ
เป็นอันหวังได้เพราะการพูดเท็จเป็นปัจจัย’ การพูดเท็จนั่นเองเป็นสังโยชน์ เป็นนิวรณ์
อนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่าใด จะพึงเกิดขึ้นเพราะ
การพูดเท็จเป็นปัจจัย เมื่อบุคคลเว้นขาดจากการพูดเท็จแล้ว อาสวะและความ
เร่าร้อนที่ทำความคับแค้นเหล่านั้นจะไม่มี คำที่เรากล่าวไว้ว่า ‘บุคคลพึงละการ
พูดเท็จได้ เพราะอาศัยการพูดจริง’ นั่น เพราะอาศัยเหตุนี้ เราจึงกล่าวไว้
[36] เรากล่าวไว้แล้วเช่นนี้แลว่า ‘บุคคลพึงละการพูดส่อเสียดได้ เพราะ
อาศัยการไม่พูดส่อเสียด’ เพราะอาศัยเหตุอะไร เราจึงกล่าวไว้เช่นนั้น
คือ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้เห็นประจักษ์ชัดดังนี้ว่า ‘เราเป็นผู้พูดส่อเสียด
เพราะเหตุแห่งสังโยชน์เหล่าใด เราพึงปฏิบัติเพื่อละ เพื่อตัดสังโยชน์เหล่านั้นเสีย

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :39 }