เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [4. ราชวรรค] 2. รัฏฐปาลสูตร

แม้ครั้งที่ 3 มารดาบิดาของรัฐปาลกุลบุตรก็ได้กล่าวว่า “พ่อรัฏฐปาละ เจ้าเป็น
ลูกชายคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพ่อแม่ เจริญเติบโตมาด้วยความสุขสบาย
ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี ลูกไม่รู้จักความทุกข์แม้แต่น้อย [มาเถิด พ่อรัฏฐปาละ
ลูกจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติอยู่เถิด ลูกเมื่อกำลังบริโภค กำลังดื่ม กำลัง
ให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภคกามไปพลาง ทำบุญไปพลางเถิด พ่อแม่จะไม่
อนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต] ถึงลูกจะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนา
จะจากลูก เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาตให้ลูกซึ่งยังมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตเล่า”

มารดาบิดาไม่อนุญาตให้บวช

[296] ครั้งนั้น รัฏฐปาลกุลบุตรคิดว่า “มารดาบิดาไม่อนุญาตให้เราออก
จากเรือนบวชเป็นบรรพชิตแน่” จึงนอนบนพื้นอันไม่มีเครื่องปูลาด ณ ที่นั้นเอง
ด้วยตั้งใจว่า “เราจักตาย หรือจักได้บวชก็ที่ตรงนี้แหละ” เขาจึงไม่บริโภคอาหาร
ตั้งแต่ 1 มื้อ 2 มื้อ 3 มื้อ 4 มื้อ 5 มื้อ 6 มื้อ จนถึง 7 มื้อ
ครั้งนั้น มารดาบิดาของรัฏฐปาลกุลบุตรได้กล่าวว่า “พ่อรัฏฐปาละ เจ้าเป็น
ลูกชายคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพ่อแม่ เจริญเติบโตมาด้วยความสุขสบาย
ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี ลูกไม่รู้จักความทุกข์แม้แต่น้อย จงลุกขึ้นเถิด พ่อรัฏฐปาละ
ลูกจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติอยู่เถิด ลูกเมื่อกำลังบริโภค กำลังดื่ม กำลัง
ให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภคกาม1ไปพลาง ทำบุญ2ไปพลางเถิด พ่อแม่จะไม่
อนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ถึงลูกจะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนา
จะจากลูก เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาตให้ลูกซึ่งมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิตเล่า จงลุกขึ้นเถิด พ่อรัฏฐปาละ ลูกจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติ
อยู่เถิด ลูกเมื่อกำลังบริโภค กำลังดื่ม กำลังให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภค


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [4. ราชวรรค] 2. รัฏฐปาลสูตร

กามไปพลาง ทำบุญไปพลางเถิด พ่อแม่จะไม่อนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต ถึงลูกจะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจากลูก เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาต
ให้ลูกซึ่งมีชีวิตอยู่ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า”
เมื่อมารดาบิดากล่าวอย่างนี้แล้ว รัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้นิ่งเฉย
แม้ครั้งที่ 2 มารดาบิดาของรัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้กล่าวว่า ฯลฯ
แม้ครั้งที่ 2 รัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้นิ่งเฉย
แม้ครั้งที่ 3 มารดาบิดาของรัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้กล่าวว่า “พ่อรัฏฐปาละ
เจ้าเป็นลูกคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพ่อแม่ เจริญเติบโตมาด้วยความสุขสบาย
ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี พ่อรัฏฐปาละ ลูกไม่รู้จักความทุกข์แม้แต่น้อย [จงลุกขึ้น
เถิด พ่อรัฏฐปาละ ลูกจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขาปรนนิบัติอยู่เถิด ลูกเมื่อกำลังบริโภค
กำลังดื่ม กำลังให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภคกามไปพลาง ทำบุญไปพลางเถิด
พ่อแม่จะไม่อนุญาตให้ลูกออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต] ถึงลูกจะตาย พ่อแม่ก็
ไม่ปรารถนาจะจากลูก เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาตให้ลูกซึ่งมีชีวิตอยู่ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตเล่า จงลุกขึ้น พ่อรัฏฐปาละ ลูกจงบริโภค จงดื่ม ฯลฯ ถึงลูก
จะตาย พ่อแม่ก็ไม่ปรารถนาจะจากลูก เหตุไฉน พ่อแม่จักอนุญาตให้ลูกซึ่งมีชีวิตอยู่
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเล่า”
แม้ครั้งที่ 3 รัฏฐปาลกุลบุตรก็ได้นิ่งเฉย

เพื่อนช่วยอ้อนวอนขออนุญาตให้บวช

[297] ครั้งนั้น พวกเพื่อนของรัฏฐปาลกุลบุตรพากันเข้าไปหารัฏฐปาลกุลบุตร
ถึงที่อยู่แล้วได้กล่าวว่า
“รัฏฐปาละเพื่อนรัก เพื่อนเป็นลูกชายคนเดียว เป็นที่รักเป็นที่ชอบใจของพ่อแม่
เจริญเติบโตมาด้วยความสุขสบาย ได้รับการเลี้ยงดูมาอย่างดี เพื่อนไม่รู้จักความ
ทุกข์แม้แต่น้อยเลย [ลุกขึ้นเถิด รัฏฐปาละเพื่อนรัก เพื่อนจงบริโภค จงดื่ม จงให้เขา
ปรนนิบัติอยู่เถิด เมื่อกำลังบริโภค กำลังดื่ม กำลังให้เขาปรนนิบัติอยู่ จงยินดีบริโภค

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :353 }