เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 10. เวขณสสูตร

“ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ ดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงตรง
ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสารทกาลเดือนท้ายแห่งฤดูฝนนี้ ส่องสว่าง
กว่าและประณีตกว่า”
“กัจจานะ เทวดาเหล่าใดไม่อาศัยแสงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เทวดา
เหล่านั้น มีมาก มีมากยิ่งกว่าเหล่าเทวดาที่อาศัยแสงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
เรารู้ทั่วถึงเทวดาเหล่านั้น แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ‘เป็นวรรณะที่ไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า
หรือประณีตกว่า’ ส่วนท่านกล่าวว่า ‘วรรณะที่เลวกว่าและเศร้าหมองกว่าหิ่งห้อย
นั้นเป็นวรรณะที่สูงสุด’ แต่ท่านไม่ชี้วรรณะนั้นให้ชัด
[280] กัจจานะ กามคุณมี 5 ประการ
กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ...
3. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...
4. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
5. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กัจจานะ กามคุณมี 5 ประการ นี้แล
สุข โสมนัสที่อาศัยกามคุณ 5 ประการนี้เกิดขึ้น เราเรียกว่า กามสุข
ดังนั้น ในกามและกามสุขนั้น เราจึงกล่าวกามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย
(แต่)กล่าวสุขอันเลิศกว่ากาม1ว่าเลิศกว่ากามสุข”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 10. เวขณสสูตร

สรรเสริญสุขอันเลิศกว่ากาม

เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชกได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ข้อที่ในกามและกามสุขนั้น
ท่านพระโคดมตรัสกามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย (แต่)ตรัสสุขอันเลิศกว่ากามว่า
เลิศกว่ากามสุข ชื่อว่าตรัสดีแล้ว”
“กัจจานะ ข้อที่ว่า ‘กามก็ดี กามสุขก็ดี สุขอันเลิศกว่ากามก็ดี’ นี้เธอ
ผู้มีทิฏฐิแตกต่างกัน มีความถูกใจแตกต่างกัน มีความพอใจแตกต่างกัน มีความ
มุ่งหมายแตกต่างกัน มีอาจารย์แตกต่างกันจึงรู้ได้ยาก ภิกษุเหล่าใดเป็นอรหันต-
ขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุ
ประโยชน์ตนโดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุ
เหล่านั้นแล จะพึงรู้กาม กามสุข หรือสุขอันเลิศกว่ากามนี้ได้”
[281] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว เวขณสปริพาชก โกรธ ไม่พอใจ
เมื่อจะด่าว่าเย้ยหยันพระผู้มีพระภาค คิดว่า “เราจักทำให้พระสมณโคดมได้รับ
ความเสียหาย” จึงได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“เมื่อเป็นเช่นนั้น สมณพราหมณ์บางพวกในโลกนี้ ไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น ไม่เห็น
เงื่อนเบื้องปลาย แต่ยังยืนยันอยู่ว่า เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ คำกล่าวของ
สมณพราหมณ์เหล่านั้นถึงความเป็นคำน่าหัวเราะ เป็นคำต่ำช้า เป็นคำเปล่า เป็นคำ
เหลวไหลทีเดียว”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “กัจจานะ สมณพราหมณ์เหล่าใด เมื่อไม่รู้เงื่อนเบื้องต้น
ไม่เห็นเงื่อนเบื้องปลาย ยังยืนยันว่า ‘เรารู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว
ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’ สมณพราหมณ์
เหล่านั้นถูกข่มก็ชอบอยู่ แต่จงงดเงื่อนเบื้องต้นและเงื่อนเบื้องปลายไว้ก่อน ขอให้
วิญญูชนผู้ไม่โอ้อวด ไม่มีมารยา เป็นคนซื่อตรง จงมาเถิด เราจะสั่งสอน เราจัก
แสดงธรรม เมื่อเขาปฏิบัติตามคำพร่ำสอน ไม่นานก็จักรู้เอง เห็นเอง ได้ทราบว่า
ความหลุดพ้นโดยชอบจากเครื่องผูกคืออวิชชาก็เป็นอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :335 }