เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 10. เวขณสสูตร

“บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ ประทีปน้ำมันในราตรีที่มีเดือนมืด ส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ประทีปน้ำมันในราตรีที่มีเดือนมืด กับกอง
ไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืด บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างและ
ประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ กองไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืดส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร กองไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืดกับดาวศุกร์
ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆในเวลาใกล้รุ่ง บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ วรรณะ
ไหนจะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ ดาวศุกร์ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆในเวลา
ใกล้รุ่งส่องสว่างกว่าและประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ดาวศุกร์ในนภากาศอันกระจ่างปราศจาก
เมฆในเวลาใกล้รุ่งกับดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศอันกระจ่างปราศจาก
เมฆในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างสว่างกว่า
และประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ ดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศอันกระจ่าง
ปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำนี้ส่องสว่างกว่าและประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศ
อันกระจ่างปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ กับดวงอาทิตย์ในเวลาเที่ยงตรง
ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสารทกาลเดือนท้ายแห่งฤดูฝน บรรดาวรรณะ
ทั้ง 2 นี้ วรรณะไหนจะงามกว่าและประณีตกว่ากัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :333 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 10. เวขณสสูตร

“ข้าแต่ท่านพระโคดม บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ ดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงตรง
ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสารทกาลเดือนท้ายแห่งฤดูฝนนี้ ส่องสว่าง
กว่าและประณีตกว่า”
“กัจจานะ เทวดาเหล่าใดไม่อาศัยแสงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เทวดา
เหล่านั้น มีมาก มีมากยิ่งกว่าเหล่าเทวดาที่อาศัยแสงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์
เรารู้ทั่วถึงเทวดาเหล่านั้น แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ‘เป็นวรรณะที่ไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่า
หรือประณีตกว่า’ ส่วนท่านกล่าวว่า ‘วรรณะที่เลวกว่าและเศร้าหมองกว่าหิ่งห้อย
นั้นเป็นวรรณะที่สูงสุด’ แต่ท่านไม่ชี้วรรณะนั้นให้ชัด
[280] กัจจานะ กามคุณมี 5 ประการ
กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปที่จะพึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่จะพึงรู้แจ้งทางหู ...
3. กลิ่นที่จะพึงรู้แจ้งทางจมูก ...
4. รสที่จะพึงรู้แจ้งทางลิ้น ...
5. โผฏฐัพพะที่จะพึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ
ชวนให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กัจจานะ กามคุณมี 5 ประการ นี้แล
สุข โสมนัสที่อาศัยกามคุณ 5 ประการนี้เกิดขึ้น เราเรียกว่า กามสุข
ดังนั้น ในกามและกามสุขนั้น เราจึงกล่าวกามสุขว่าเลิศกว่ากามทั้งหลาย
(แต่)กล่าวสุขอันเลิศกว่ากาม1ว่าเลิศกว่ากามสุข”