เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
9. จูฬสกุลุทายิสูตร

[276] “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
คงมุ่งจะทำให้แจ้ง1โลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวนั้นเป็นแน่”
“อุทายี ไม่ใช่ภิกษุจะประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพียงเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุข
โดยส่วนเดียวนี้เท่านั้น แท้จริงยังมีธรรมอื่นที่ดีกว่า และประณีตกว่า ที่ภิกษุประพฤติ
พรหมจรรย์ในเรา มุ่งจะทำให้แจ้ง”
“ธรรมที่ดีกว่าและประณีตกว่าที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค
มุ่งจะทำให้แจ้งนั้นคืออะไร พระพุทธเจ้าข้า”
“อุทายี ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเอง
โดยชอบ เพียบพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกผู้ที่ควรฝึก
ได้อย่างยอดเยี่ยม เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า
เป็นพระผู้มีพระภาค ฯลฯ ภิกษุนั้นละนิวรณ์ 5 ประการนี้ อันเป็นเหตุทำใจให้
เศร้าหมอง เป็นครื่องบั่นทอนปัญญาได้แล้ว เธอสงัดจากกาม และอกุศลธรรม
ทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ธรรมนี้แลดีกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุ
ประพฤติพรหมจรรย์ในเรา มุ่งจะทำให้แจ้ง
อีกประการหนึ่ง เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุบรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ อุทายี ธรรมนี้แล ดีกว่าและ
ประณีตกว่า ที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรา มุ่งจะทำให้แจ้ง”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
9. จูฬสกุลุทายิสูตร

วิชชา 3

เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง
2 ชาติบ้าง ฯลฯ เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้ ธรรมนี้แลดีกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์
ในเรา มุ่งจะทำให้แจ้ง
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้ที่กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งาม
และไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ ฯลฯ เธอรู้ชัด
ถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ธรรมนี้แลดีกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุประพฤติ
พรหมจรรย์ในเรามุ่งจะทำให้แจ้ง
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิต
ไปเพื่ออาสวักขยญาณรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป’
ธรรมนี้แลดีกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรามุ่งจะทำให้แจ้ง
อุทายี ธรรมเหล่านี้แล ดีกว่าและประณีตกว่า ที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์
ในเรา มุ่งจะทำให้แจ้ง”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :329 }