เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
9. จูฬสกุลุทายิสูตร

เหล่านั้น แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ‘เป็นวรรณะที่ไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า’
ส่วนท่านกล่าวว่า ‘วรรณะที่เลวกว่าและเศร้าหมองกว่าหิ่งห้อยเป็นวรรณะสูงสุด’
แต่ท่านไม่ชี้วรรณะนั้นให้ชัด”
“พระผู้มีพระภาคทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว พระสุคตทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า”
“อุทายี ทำไมท่านจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว
พระสุคตทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้วเล่า”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตน ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ว่า ‘วรรณะนี้เป็นวรรณะสูงสุด วรรณะนี้เป็นวรรณะสูงสุด’ ข้าพระองค์
เหล่านั้นเมื่อถูกพระผู้มีพระภาคสอบสวนซักไซร้ไล่เลียงในลัทธิอาจารย์ของตนจึง
กลายเป็นคนว่าง เป็นคนเปล่า ผิดไปหมด”

ปัญหาเรื่องโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว

[274] “อุทายี โลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ ข้อปฏิบัติที่มีเหตุ1เพื่อ
ทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว มีอยู่หรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตน ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ว่า ‘โลกมีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่ ข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลก
ที่มีสุขโดยส่วนเดียวก็มีอยู่”
“ข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวนั้น เป็นอย่างไร”
“คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ละเว้นขาดจากปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์) ละเว้น
ขาดจากอทินนาทาน(การลักทรัพย์) ละเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
9. จูฬสกุลุทายิสูตร

ผิดในกาม) ละเว้นขาดจากมุสาวาท(การพูดเท็จ) สมาทานคุณคือตบะอย่างใด
อย่างหนึ่ง ประพฤติอยู่ นี้แลเป็นข้อปฏิบัตินั้นที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดย
ส่วนเดียว พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเวลาที่บุคคลละเว้นขาดจากปาณาติบาต
อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง”
“มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเวลาที่บุคคลละเว้นขาดจากอทินนาทาน
อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง”
“มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเวลาที่บุคคลละเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร
อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง”
“มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเวลาที่บุคคลละเว้นขาดจากมุสาวาท
อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง”
“มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ในเวลาที่บุคคลสมาทานคุณคือตบะอย่างใด
อย่างหนึ่งประพฤติอยู่ อัตตามีสุขโดยส่วนเดียว หรือมีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง”
“มีสุขบ้าง มีทุกข์บ้าง พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร การจะอาศัยข้อปฏิบัติอันมีทั้งสุขและทุกข์
แล้วทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว มีอยู่บ้างไหม”
“พระผู้มีพระภาคทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว พระสุคตทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :325 }