เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
9. จูฬสกุลุทายิสูตร

“บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ กองไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืด ส่องสว่างกว่าและ
ประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร กองไฟใหญ่ในราตรีที่มีเดือนมืด กับดาวศุกร์
ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลาใกล้รุ่ง บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ วรรณะ
ไหนจะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ ดาวศุกร์ในนภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในเวลา
ใกล้รุ่งส่องสว่างกว่าและประณีตกว่า พระพุทธเจ้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ดาวศุกร์ในนภากาศอันกระจ่างปราศจาก
เมฆ ในเวลาใกล้รุ่งกับดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศอันกระจ่างปราศจาก
เมฆ ในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่า
และประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ ดวงจันทร์เวลาเที่ยงคืนตรง ในนภากาศอันกระจ่าง
ปราศจากเมฆ ในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ จะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่า พระ-
พุทธเจ้าข้า”
“ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ดวงจันทร์ในเวลาเที่ยงคืนตรงในนภากาศ
อันกระจ่างปราศจากเมฆในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำ กับดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงตรงใน
นภากาศอันกระจ่างปราศจากเมฆ ในสารทกาลเดือนท้ายแห่งฤดูฝน บรรดา
วรรณะทั้ง 2 นี้ วรรณะไหนจะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่ากัน”
“บรรดาวรรณะทั้ง 2 นี้ ดวงอาทิตย์เวลาเที่ยงตรงอันกระจ่างปราศจากเมฆ ใน
สารทกาลเดือนท้ายแห่งฤดูฝนจะส่องสว่างกว่าและประณีตกว่า พระพุทธเจ้าข้า”
“เทวดาเหล่าใดไม่อาศัยแสงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เทวดาเหล่านั้นมีมาก
มีมากยิ่งกว่าเหล่าเทวดาที่อาศัยแสงดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ เรารู้ทั่วถึงเทวดา

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :323 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
9. จูฬสกุลุทายิสูตร

เหล่านั้น แต่เราก็ไม่กล่าวว่า ‘เป็นวรรณะที่ไม่มีวรรณะอื่นยิ่งกว่าหรือประณีตกว่า’
ส่วนท่านกล่าวว่า ‘วรรณะที่เลวกว่าและเศร้าหมองกว่าหิ่งห้อยเป็นวรรณะสูงสุด’
แต่ท่านไม่ชี้วรรณะนั้นให้ชัด”
“พระผู้มีพระภาคทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว พระสุคตทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว
พระพุทธเจ้าข้า”
“อุทายี ทำไมท่านจึงกล่าวอย่างนี้ว่า ‘พระผู้มีพระภาคทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้ว
พระสุคตทรงหักล้างเรื่องนี้เสียแล้วเล่า”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตน ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ว่า ‘วรรณะนี้เป็นวรรณะสูงสุด วรรณะนี้เป็นวรรณะสูงสุด’ ข้าพระองค์
เหล่านั้นเมื่อถูกพระผู้มีพระภาคสอบสวนซักไซร้ไล่เลียงในลัทธิอาจารย์ของตนจึง
กลายเป็นคนว่าง เป็นคนเปล่า ผิดไปหมด”

ปัญหาเรื่องโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว

[274] “อุทายี โลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่หรือ ข้อปฏิบัติที่มีเหตุ1เพื่อ
ทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียว มีอยู่หรือ”
“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในลัทธิอาจารย์ของตน ข้าพระองค์ทั้งหลายมีความ
เห็นอย่างนี้ว่า ‘โลกมีสุขโดยส่วนเดียวมีอยู่ ข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลก
ที่มีสุขโดยส่วนเดียวก็มีอยู่”
“ข้อปฏิบัติที่มีเหตุเพื่อทำให้แจ้งโลกที่มีสุขโดยส่วนเดียวนั้น เป็นอย่างไร”
“คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ละเว้นขาดจากปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์) ละเว้น
ขาดจากอทินนาทาน(การลักทรัพย์) ละเว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติ