เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
8. สมณมุณฑิกสูตร

2. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
3. สร้างฉันทะ ฯลฯ เพื่อทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
4. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ช่างไม้ บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งความดำริ
ที่เป็นอกุศล
[267] ความดำริที่เป็นกุศล เป็นอย่างไร
คือ ความดำริในเนกขัมมะ ความดำริในความไม่พยาบาท ความดำริในความ
ไม่เบียดเบียน เหล่านี้เราเรียกว่า ‘ความดำริที่เป็นกุศล’
ความดำริที่เป็นกุศลนี้ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
คือ แม้สมุฏฐานแห่งความดำริที่เป็นกุศลเหล่านั้นเราก็ได้กล่าวไว้แล้ว สมุฏฐาน
แห่งความดำรินี้ควรกล่าวว่า ‘มีสัญญาเป็นสมุฏฐาน’
สัญญาประเภทไหนเล่า
แท้จริง แม้สัญญาก็มีมาก มีหลายอย่าง มีหลายประการ คือ สัญญาใน
เนกขัมมะ สัญญาในความไม่พยาบาท สัญญาในความไม่เบียดเบียน ความดำริที่
เป็นกุศลมีสัญญาเหล่านี้เป็นสมุฏฐาน
ความดำริที่เป็นกุศลเหล่านี้ ดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน
คือ แม้ความดับแห่งความดำริที่เป็นกุศลนั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว เพราะวิตก
วิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่ ซึ่งเป็นที่ดับไปโดย
ไม่เหลือแห่งความดำริที่เป็นกุศลเหล่านี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :315 }