เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
8. สมณมุณฑิกสูตร

เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริที่เป็นอกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่
บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง
ความดำริที่เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริเหล่านี้เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริเป็นกุศลมีสมุฏฐานมาแต่จิตนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริที่เป็นกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่บุคคล
ควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง
ความดำริที่เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’

เสขธรรมว่าด้วยศีล

[264] ศีลที่เป็นอกุศล เป็นอย่างไร
คือ กายกรรมที่เป็นอกุศล วจีกรรมที่เป็นอกุศล การเลี้ยงชีพที่เป็นบาปเหล่านี้
เราเรียกว่า ‘ศีลที่เป็นอกุศล’
ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
คือ แม้สมุฏฐานแห่งศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว สมุฏฐาน
แห่งศีลนี้ควรกล่าวว่า ‘มีจิตเป็นสมุฏฐาน’
จิตดวงไหนเล่า
แท้จริงจิตมีหลายดวง มีหลายอย่าง มีหลายประการ คือ จิตที่มีราคะ จิตที่มี
โทสะ และจิตที่มีโมหะ1 ศีลที่เป็นอกุศลมีจิตเหล่านี้เป็นสมุฏฐาน


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
8. สมณมุณฑิกสูตร

ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้ดับไปโดยไม่เหลือในที่ไหน
คือ แม้ความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ ละกายทุจริต เจริญกายสุจริต ละวจีทุจริต เจริญวจีสุจริต ละมโนทุจริต
เจริญมโนสุจริต ละมิจฉาอาชีวะ เลี้ยงชีพด้วยสัมมาอาชีวะ ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้
ดับไปโดยไม่เหลือในธรรมเหล่านี้1
ผู้ปฏิบัติอย่างไร จึงชื่อว่าปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็นอกุศล
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ป้องกันบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดมิให้เกิดขึ้น
2. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อละ
บาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
3. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อทำ
กุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
4. สร้างฉันทะ พยายาม ปรารภความเพียร ประคองจิต มุ่งมั่นเพื่อ
ความดำรงอยู่ ไม่เลือนหาย ภิยโยภาพ ไพบูลย์ เจริญเต็มที่แห่ง
กุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ช่างไม้ บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้แล ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่งศีลที่เป็น
อกุศล
[265] ศีลที่เป็นกุศล เป็นอย่างไร
คือ กายกรรมที่เป็นกุศล วจีกรรมที่เป็นกุศล และแม้อาชีวะอันบริสุทธิ์ก็
รวมอยู่ในศีล เหล่านี้เราเรียกว่า ‘ศีลที่เป็นกุศล’