เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
8. สมณมุณฑิกสูตร

ธรรม 4 ประการ อะไรบ้าง
คือ บุรุษบุคคลในโลกนี้
1. ไม่ทำกรรมชั่วทางกาย 2. ไม่กล่าววาจาชั่ว
3. ไม่ดำริความดำริชั่ว 4. ไม่ประกอบอาชีพชั่ว
เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 4 ประการนี้แลว่า มิใช่ผู้มีกุศล
เพียบพร้อม มิใช่ผู้มีกุศลยอดเยี่ยม มิใช่สมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุ ไม่มี
ใครสู้วาทะได้ แต่บุรุษบุคคลนี้ยังดีกว่าเด็กอ่อนที่นอนหงายอยู่บ้าง
ช่างไม้ เราบัญญัติบุรุษบุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการว่า เป็นผู้มี
กุศลเพียบพร้อม มีกุศลยอดเยี่ยม เป็นสมณะผู้บรรลุธรรมชั้นสูงที่ควรบรรลุไม่มี
ใครสู้วาทะได้

เสขธรรม

เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเหล่านี้เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเป็นอกุศล มีสมุฏฐานมาจากจิตนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเป็นอกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง
ศีลที่เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเหล่านี้เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเป็นกุศลมีสมุฏฐานมาแต่จิตนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ศีลเป็นกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง
ศีลที่เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริเหล่านี้เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริที่เป็นอกุศลมีสมุฏฐานมาแต่จิตนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :310 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
8. สมณมุณฑิกสูตร

เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริที่เป็นอกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่
บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง
ความดำริที่เป็นอกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริเหล่านี้เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริเป็นกุศลมีสมุฏฐานมาแต่จิตนี้ เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่ความดำริที่เป็นกุศลดับไปโดยไม่เหลือในที่นี้ เป็นสิ่งที่บุคคล
ควรรู้’
เรากล่าวว่า ‘ข้อที่บุคคลผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความดับแห่ง
ความดำริที่เป็นกุศล เป็นสิ่งที่บุคคลควรรู้’

เสขธรรมว่าด้วยศีล

[264] ศีลที่เป็นอกุศล เป็นอย่างไร
คือ กายกรรมที่เป็นอกุศล วจีกรรมที่เป็นอกุศล การเลี้ยงชีพที่เป็นบาปเหล่านี้
เราเรียกว่า ‘ศีลที่เป็นอกุศล’
ศีลที่เป็นอกุศลเหล่านี้มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
คือ แม้สมุฏฐานแห่งศีลที่เป็นอกุศลเหล่านั้น เราก็ได้กล่าวไว้แล้ว สมุฏฐาน
แห่งศีลนี้ควรกล่าวว่า ‘มีจิตเป็นสมุฏฐาน’
จิตดวงไหนเล่า
แท้จริงจิตมีหลายดวง มีหลายอย่าง มีหลายประการ คือ จิตที่มีราคะ จิตที่มี
โทสะ และจิตที่มีโมหะ1 ศีลที่เป็นอกุศลมีจิตเหล่านี้เป็นสมุฏฐาน