เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
7. มหาสกุลุทายิสูตร

ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือ
มนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ฯลฯ1
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วเห็นสัตว์กำลังจุติ กำลังเกิดนั้นแล สาวก
ทั้งหลายของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

8. อาสวักขยญาณ

[259] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวก
ทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตาม ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน สระน้ำใสสะอาดไม่ขุ่น
มัวบนยอดภูเขา คนมีตาดียืนที่ขอบสระนั้น เห็นหอยโข่งและหอยกาบ ก้อนกรวด
และก้อนหิน หรือฝูงปลา กำลังแหวกว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระนั้น ก็คิด
อย่างนี้ว่า ‘สระน้ำนี้ ใสสะอาด ไม่ขุ่นมัว หอยโข่งและหอยกาบ ก้อนกรวดและก้อนหิน
หรือฝูงปลา เหล่านี้กำลังแหวกว่ายอยู่ก็มี หยุดอยู่ก็มี ในสระนั้น’ แม้ฉันใด2 เราก็
ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติ
ตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะ
เพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วรู้แจ้งวิมุตตินั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
นี้แล เป็นธรรมประการที่ 5 ซึ่งเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ
นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่
อุทายี ธรรม 5 ประการนี้เแล เป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ
เคารพ นับถือ บูชาเรา นอกจากสักการะ เคารพแล้วก็ยังอาศัยเราอยู่”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว สกุลุทายีปริพาชกมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหาสกุลุทายีสูตรที่ 7 จบ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
8. สมณมุณฑิกสูตร

8. สมณมุณฑิกสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่ออุคคาหมานะ สมณมุณฑิกาบุตร

[260] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้นแล ปริพาชกชื่ออุคคาหมานะ สมณมุณฑิกาบุตร
กับปริพาชกประมาณ 500 คน พร้อมด้วยปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ อาศัยอยู่ใน
อารามของพระนางมัลลิกาเทวีชื่อเอกศาลา ซึ่งแวดล้อมด้วยต้นมะพลับ อันเป็นที่
ประชุมแสดงลัทธิ ครั้งนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะ ออกจากกรุงสาวัตถีเพื่อเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคแต่ยังวัน ได้คิดว่า
“บัดนี้ไม่ใช่เวลาที่จะเข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาค พระผู้มีพระภาคทรงหลีกเร้นอยู่ บัดนี้
ไม่ใช่เวลาที่จะเข้าไปหาภิกษุทั้งหลายผู้บำเพ็ญเพียรทางใจ ภิกษุทั้งหลายผู้บำเพ็ญเพียร
ทางใจยังหลีกเร้นอยู่ ทางที่ดี เราควรเข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร
ที่อารามของพระนางมัลลิกาเทวีชื่อเอกศาลา ซึ่งแวดล้อมด้วยต้นมะพลับ อันเป็น
ที่ประชุมแสดงลัทธิ”
ลำดับนั้น ช่างไม้ชื่อปัญจกังคะจึงเข้าไปหาอุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตร
ถึงอารามของพระนางมัลลิกาเทวีชื่อเอกศาลา ซึ่งแวดล้อมด้วยต้นมะพลับ อันเป็น
ที่ประชุมแสดงลัทธิ

ดิรัจฉานกถา

สมัยนั้น อุคคาหมานปริพาชก สมณมุณฑิกาบุตรกำลังนั่งสนทนาอยู่กับ
ปริพาชกบริษัทหมู่ใหญ่ผู้กำลังสนทนาถึงดิรัจฉานกถา1ต่าง ๆ ด้วยเสียงดังอื้ออึง
คือ พูดเรื่องพระราชา เรื่องโจร เรื่องมหาอำมาตย์ เรื่องกองทัพ เรื่องภัย เรื่อง
การรบ เรื่องข้าว เรื่องน้ำ เรื่องผ้า เรื่องที่นอน เรื่องพวงดอกไม้ เรื่องของหอม
เรื่องญาติ เรื่องยาน เรื่องบ้าน เรื่องนิคม เรื่องเมืองหลวง เรื่องชนบท เรื่องสตรี