เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
7. มหาสกุลุทายิสูตร

4. เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุ
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ เธอมีใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่อง นั่งแผ่ไป
ทั่วกายนี้ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่
ถูกต้อง บุรุษนั่งใช้ผ้าขาวคลุมตัวตลอดศีรษะ ไม่มีส่วนไหนของร่าง
กายที่ผ้าขาวจะไม่ปกคลุม แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีใจ
อันบริสุทธิ์ผุดผ่อง นั่งแผ่ไปทั่วกายนี้ ไม่มีส่วนไหนของร่างกาย
ที่ใจอันบริสุทธิ์ผุดผ่องจะไม่ถูกต้อง
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วเจริญฌาน 4 ประการนั้นแล สาวก
ของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

วิชชา 8 ประการ
1. วิปัสสนาญาณ

[252] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตามรู้ชัดอย่างนี้ว่า ‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่างประกอบขึ้นจาก
มหาภูตรูป 4 เกิดจากมารดาบิดา เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยงแท้
ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตกกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณของเรา
อาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’ แก้วไพฑูรย์อันงดงาม ตามธรรมชาติมีแปดเหลี่ยม
ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใสเป็นประกายได้สัดส่วน มีด้ายสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว
หรือสีนวลร้อยอยู่ข้างใน คนตาถึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณารู้ว่า
‘แก้วไพฑูรย์อันงดงามตามธรรมชาติ มีแปดเหลี่ยม ที่เจียระไนดีแล้ว สุกใส เป็น
ประกายได้สัดส่วนมีด้ายสีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว หรือสีนวลร้อยอยู่ข้างใน’
ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้บอก
ข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตามย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า
‘กายของเรานี้คุมกันเป็นรูปร่าง ประกอบขึ้นจากมหาภูตรูป 4 เกิดจากมารดาบิดา
เจริญวัยเพราะข้าวสุกและขนมกุมมาส ไม่เที่ยงแท้ ต้องอบ ต้องนวดเฟ้น มีอันแตก
กระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา วิญญาณของเราอาศัยและเนื่องอยู่ในกายนี้’
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วรู้ชัดอย่างนี้นั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงได้บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :300 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
7. มหาสกุลุทายิสูตร

2. มโนมยิทธิญาณ

[253] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตามเนรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปที่เกิดแต่ใจ มีอวัยวะครบถ้วน
มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เปรียบเหมือนคนชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาเห็นอย่างนี้ว่า
‘นี้คือหญ้าปล้อง นี้คือไส้ หญ้าปล้องเป็นอย่างหนึ่ง ไส้ก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่ไส้ถูก
ชักออกมาจากหญ้าปล้องนั่นเอง’
คนชักดาบออกจากฝัก เขาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นี้คือดาบ นี้คือฝัก ดาบเป็น
อย่างหนึ่ง ฝักก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่ดาบถูกชักออกมาจากฝักนั่นเอง’
หรือคนดึงงูออกจากคราบ เขาเห็นอย่างนี้ว่า ‘นี้คืองู นี้คือคราบ งูเป็นอย่างหนึ่ง
คราบก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง แต่งูถูกดึงออกจากคราบนั่นเอง’ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตาม
ข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วย่อมเนรมิตกายอื่นจากกายนี้ได้ มีรูปที่เกิดแต่ใจ มีอวัยวะ
ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
เพราะปฏิบัติตามข้อปฏิบัติที่เราบอกแล้วเนรมิตกายนั้นแล สาวกทั้งหลายของ
เราเป็นอันมากจึงบรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

3. อิทธิวิธญาณ

[254] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม แสดงฤทธิ์ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวแสดงเป็นหลายคนก็ได้
หลายคนแสดงเป็นคนเดียวก็ได้ แสดงให้ปรากฏหรือให้หายไปก็ได้ ทะลุฝา กำแพง
(และ)ภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นหรือดำลงในแผ่นดินเหมือน
ไปในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำโดยที่น้ำไม่แยกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ นั่งขัดสมาธิเหาะ
ไปในอากาศเหมือนนกบินไปก็ได้ ใช้ฝ่ามือลูบคลำดวงจันทร์ดวงอาทิตย์อันมีฤทธิ์
มากมีอานุภาพมากก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปจนถึงพรหมโลกก็ได้ เปรียบเหมือน
ช่างหม้อหรือลูกมือช่างหม้อผู้ชำนาญ เมื่อนวดดินเหนียวดีแล้วพึงทำภาชนะที่ต้องการ
ให้สำเร็จได้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :301 }