เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
7. มหาสกุลุทายิสูตร

7. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสี
แดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม ดอกชบาที่แดง มีสีแดง
เปรียบด้วยของแดง และมีสีแดงเข้ม หรือผ้าเมืองพาราณสีอันมีเนื้อ
ละเอียดทั้ง 2 ด้าน ที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม
แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เห็นรูป
ทั้งหลายภายนอกที่แดง มีสีแดง เปรียบด้วยของแดง มีสีแดงเข้ม
ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า ‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็น
อภิภายตนะประการที่ 7
8. สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกสีขาว
มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว มีสีขาวเข้ม ดาวประกายพรึกที่ขาว
มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว และมีสีขาวเข้ม หรือผ้าเมืองพาราณสี
อันมีเนื้อละเอียดทั้ง 2 ด้าน ที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วยของขาว
มีสีขาวเข้ม แม้ฉันใด สาวกผู้หนึ่งมีอรูปสัญญาภายใน ก็ฉันนั้น
เหมือนกัน เห็นรูปทั้งหลายภายนอกที่ขาว มีสีขาว เปรียบด้วย
ของขาว มีสีขาวเข้ม ครอบงำรูปเหล่านั้นได้ มีสัญญาอย่างนี้ว่า
‘เรารู้ เราเห็น’ นี้เป็นอภิภายตนะประการที่ 8
เพราะเจริญอภิภายตนะ 8 ประการนั้นแล1 สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้
บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมี2อยู่
[250] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวก
ทั้งหลายของเราผู้ปฏิบัติตามเจริญกสิณายตนะ3 (บ่อเกิดแห่งธรรมที่มีกสิณเป็นอารมณ์)
10 ประการ คือ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
7. มหาสกุลุทายิสูตร

1. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดปฐวีกสิณ(กสิณคือดิน) เบื้องบน เบื้องต่ำ
เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
2. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดอาโปกสิณ(กสิณคือน้ำ) ฯลฯ
3. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดเตโชกสิณ(กสิณคือไฟ) ฯลฯ
4. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดวาโยกสิณ(กสิณคือลม) ฯลฯ
5. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดนีลกสิณ(กสิณคือสีเขียว) ฯลฯ
6. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดปีตกสิณ(กสิณคือสีเหลือง) ฯลฯ
7. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดโลหิตกสิณ(กสิณคือสีแดง) ฯลฯ
8. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดโอทาตกสิณ(กสิณคือสีขาว) ฯลฯ
9. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดอากาสกสิณ(กสิณคือที่ว่างเปล่า) ฯลฯ
10. สาวกผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดวิญญาณกสิณ(กสิณคือวิญญาณ) เบื้องบน
เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง ไม่มีประมาณ
เพราะเจริญกสิณายตนะ 10 ประการนั้นเแล1 สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้
บรรลุที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่

ฌาน 4

[251] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม เจริญฌาน 4 ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตก
วิจาร ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เธอทำกายนี้ให้ชุ่มชื่น อิ่มเอิบ
ด้วยปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกรู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของ
ร่างกายที่ปีติและสุขอันเกิดจากวิเวกจะไม่ถูกต้อง พนักงานสรงสนาน
หรือลูกมือพนักงานสรงสนานผู้ชำนาญ เทผงถูตัวลงในภาชนะสัมฤทธิ์