เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
7. มหาสกุลุทายิสูตร

3. เจริญสตินทรีย์ ฯลฯ
4. เจริญสมาธินทรีย์ ฯลฯ
5. เจริญปัญญินทรีย์ที่จะให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้
เพราะเจริญอินทรีย์ 5 ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ปฏิบัติตามเจริญพละ(ธรรมอันเป็นกำลัง) 5 ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสัทธาพละที่ให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้
2. เจริญวิริยพละ ฯลฯ
3. เจริญสติพละ ฯลฯ
4. เจริญสมาธิพละ ฯลฯ
5. เจริญปัญญาพละ ที่จะให้ถึงความสงบ ให้ถึงความตรัสรู้
เพราะเจริญพละ 5 ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุที่สุด
แห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ปฏิบัติตามเจริญโพชฌงค์(องค์ธรรมแห่งการตรัสรู้) 7 ประการ
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้
1. เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อม
ไปในโวสสัคคะ (ความสละ)
2. เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
3. เจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
4. เจริญปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
5. เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :293 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
7. มหาสกุลุทายิสูตร

6. เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ
7. เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในโวสสัคคะ (ความสละ)
เพราะเจริญโพชฌงค์ 7 ประการนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลายของเรา
ผู้ปฏิบัติตามเจริญอริยมรรคมีองค์ 8
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

1. เจริญสัมมาทิฏฐิ 2. เจริญสัมมาสังกัปปะ
3. เจริญสัมมาวาจา 4. เจริญสัมมากัมมันตะ
5. เจริญสัมมาอาชีวะ 6. เจริญสัมมาวายามะ
7. เจริญสัมมาสติ 8. เจริญสัมมาสมาธิ

เพราะเจริญอริยมรรคมีองค์ 8 นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
ที่สุดแห่งอภิญญาและอภิญญาบารมีอยู่
[248] อีกประการหนึ่ง เราได้บอกข้อปฏิบัติแก่สาวกทั้งหลาย สาวกทั้งหลาย
ของเราผู้ปฏิบัติตาม เจริญวิโมกข์(ธรรมเครื่องหลุดพ้น) 8 ประการ1 คือ
1. สาวกผู้มีรูปเห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 1
2. สาวกผู้มีอรูปสัญญาภายในเห็นรูปทั้งหลายภายนอก นี้เป็นวิโมกข์
ประการที่ 2
3. สาวกน้อมใจไปว่า ‘งาม’ นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 3
4. สาวกบรรลุอากาสานัญจายตนฌานโดยกำหนดว่า ‘อากาศหาที่สุด
มิได้’ อยู่ เพราะล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญา ไม่กำหนดนานัตต-
สัญญาโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ประการที่ 4