เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 5. มาคัณฑิยสูตร

สัมผัสเป็นทุกข์ มีความร้อนมาก และมีความเร่าร้อนมาก สัตว์เหล่านี้เป็นผู้ยัง
ไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิด
เพราะกามแผดเผาอยู่ มีอินทรีย์1ถูกกามกำจัดแล้ว กลับเข้าใจกามซึ่งมีสัมผัสเป็น
ทุกข์ว่าเป็นความสุขไป
[215] มาคัณฑิยะ บุรุษผู้เป็นโรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรค
คอยบ่อนทำลายอยู่ ใช้เล็บเกาปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อน บุรุษผู้เป็น
โรคเรื้อน มีตัวเป็นแผล มีตัวพุพอง มีเชื้อโรคคอยบ่อนทำลายอยู่ ใช้เล็บเกา
ปากแผล ใช้ถ่านไฟรมกายให้ร้อนด้วยประการใด ๆ ปากแผลเหล่านั้นของบุรุษผู้
เป็นโรคเรื้อนนั้นก็เป็นของไม่สะอาดมากขึ้น มีกลิ่นเหม็นมากขึ้น และเน่ามากขึ้น
ด้วยประการนั้น ๆ แต่เขาจะมีเพียงความยินดี และความพอใจอยู่บ้าง ก็เพราะการ
เกาปากแผลเท่านั้น แม้ฉันใด สัตว์ทั้งหลายก็ฉันนั้นเหมือนกัน ผู้ยังไม่ปราศจาก
ความกำหนัดในกาม ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกาม
แผดเผาอยู่ เสพกามอยู่ สัตว์ทั้งหลายผู้ยังไม่ปราศจากความกำหนัดในกาม
ถูกกามตัณหาเกาะกินอยู่ ถูกความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ เสพกามอยู่
ด้วยประการใด ๆ กามตัณหาย่อมเจริญแก่สัตว์เหล่านั้น และสัตว์เหล่านั้นก็ถูก
ความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามแผดเผาอยู่ด้วยประการนั้น ๆ และเขาเหล่านั้นจะมี
ความยินดี และความพอใจอยู่บ้างก็เพราะอาศัยกามคุณ 5 ประการนั่นเอง
มาคัณฑิยะ ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ท่านได้เห็นหรือได้ฟังมาบ้าง
ไหมว่า ‘พระราชาหรือมหาอำมาตย์ของพระราชา ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วย
กามคุณ 5 ประการ บำเรอตนอยู่ ยังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความ
เร่าร้อนที่เกิดเพราะกามไม่ได้ แต่เป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายใน
อยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่”
“ไม่ ท่านพระโคดม”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค] 5. มาคัณฑิยสูตร

“ดีละ มาคัณฑิยะ ข้อนี้แม้เราก็ไม่ได้เห็นมา ไม่ได้ฟังมาว่า ‘พระราชาหรือ
มหาอำมาตย์ของพระราชา ผู้เอิบอิ่มพรั่งพร้อมด้วยกามคุณ 5 ประการ บำเรอ
ตนอยู่ ยังละกามตัณหาไม่ได้ ยังบรรเทาความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามไม่ได้ แต่เป็น
ผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่’
มาคัณฑิยะ ที่แท้สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เป็นผู้ปราศจาก
ความกระหาย มีจิตสงบในภายในอยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่ เพราะสมณะ
หรือพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ และอุบาย
เป็นเครื่องสลัดกามทั้งหลายให้ออกไปได้ตามความเป็นจริง ละกามตัณหาได้ บรรเทา
ความเร่าร้อนที่เกิดเพราะกามได้ จึงเป็นผู้ปราศจากความกระหาย มีจิตสงบในภายใน
อยู่แล้ว กำลังอยู่ หรือว่าจักอยู่”
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
“ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง
บรรดาทางทั้งหลายอันให้ถึงอมตธรรม
ทางมีองค์ 8 เป็นทางอันเกษม”
[216] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว มาคัณฑิยปริพาชกได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ ท่านพระ
โคดมตรัสไว้ดีแล้วว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’
ข้าพระองค์ก็ได้ฟังมาจากปริพาชกทั้งหลายในกาลก่อน ผู้เป็นอาจารย์และเป็น
ปาจารย์ผู้กล่าวว่า
‘ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง’
ความข้อนั้นจึงสมกัน”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :254 }