เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
3. มหาวัจฉโคตตสูตร

3. มหาวัจฉโคตตสูตร
ว่าด้วยปริพาชกชื่อวัจฉโคตร สูตรใหญ่
เรื่องกุศลธรรมและอกุศลธรรม

[193] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน สถานที่ให้เหยื่อกระแต
เขตกรุงราชคฤห์ ครั้งนั้นแล ปริพาชกชื่อวัจฉโคตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
“ข้าพระองค์เคยสนทนากับท่านพระโคดมเป็นเวลานานมาแล้ว ขอประทาน
วโรกาส ขอท่านพระโคดมโปรดแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศลแก่ข้าพระองค์
โดยย่อเถิด”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “วัจฉะ เราจะแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศล
แก่ท่านโดยย่อก็ได้ เราจะแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศลแก่ท่านโดยพิสดาร
ก็ได้ แต่เราจักแสดงธรรมทั้งที่เป็นกุศลและเป็นอกุศลแก่ท่านโดยย่อ ท่านจงฟัง จงใส่ใจ
ให้ดี เราจักกล่าว”
วัจฉโคตรปริพาชก ทูลรับสนองพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเรื่องนี้ว่า
[194] “วัจฉะ โลภะเป็นอกุศล อโลภะเป็นกุศล โทสะเป็นอกุศล อโทสะเป็น
กุศล โมหะเป็นอกุศล อโมหะเป็นกุศล รวมความว่า ธรรมที่เป็นอกุศลมี 3 ประการ
ธรรมที่เป็นกุศลมี 3 ประการ
ปาณาติบาต(การฆ่าสัตว์) เป็นอกุศล ปาณาติปาตา เวรมณี(การงดเว้นจากการ
ฆ่าสัตว์) เป็นกุศล
อทินนาทาน(การลักทรัพย์) เป็นอกุศล อทินนาทานา เวรมณี(การงดเว้นจาก
การลักทรัพย์) เป็นกุศล

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :228 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
3. มหาวัจฉโคตตสูตร

กาเมสุมิจฉาจาร(การประพฤติผิดในกาม) เป็นอกุศล กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี
(การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม) เป็นกุศล
มุสาวาท(การพูดเท็จ) เป็นอกุศล มุสาวาทา เวรมณี(การงดเว้นจากการ
พูดเท็จ) เป็นกุศล
ปิสุณาวาจา(การพูดส่อเสียด) เป็นอกุศล ปิสุณาย วาจาย เวรมณี(การงดเว้น
จากการพูดส่อเสียด) เป็นกุศล
ผรุสวาจา(การพูดคำหยาบ) เป็นอกุศล ผรุสาย วาจาย เวรมณี(การงดเว้น
จากการพูดคำหยาบ) เป็นกุศล
สัมผัปปลาปะ(การพูดเพ้อเจ้อ) เป็นอกุศล สัมผัปปลาปา เวรมณี(การงดเว้น
จากการพูดเพ้อเจ้อ) เป็นกุศล
อภิชฌา(ความเพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) เป็นอกุศล อนภิชฌา(ความไม่
เพ่งเล็งอยากได้สิ่งของของผู้อื่น) เป็นกุศล
พยาบาท(ความคิดร้าย) เป็นอกุศล อพยาบาท(ความไม่คิดร้าย) เป็นกุศล
มิจฉาทิฏฐิ(ความเห็นผิด) เป็นอกุศล สัมมาทิฏฐิ(ความเห็นชอบ) เป็นกุศล
รวมความว่า ธรรมที่เป็นอกุศลมี 10 ประการ ธรรมที่เป็นกุศลมี 10 ประการ
วัจฉะ เพราะภิกษุละตัณหาได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ จึงเป็นอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำ1เสร็จแล้ว ปลงภาระได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตน
โดยลำดับแล้ว สิ้นภวสังโยชน์แล้ว2 หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ”