เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
2. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

ละเอียด เฉพาะบัณฑิตจึงจะรู้ได้ ธรรมนั้นผู้มีความเห็นเป็นอย่างอื่น มีความพอใจ
เป็นอย่างอื่น มีความชอบใจเป็นอย่างอื่น มีความเพียรในทางอื่น อยู่ในสำนักของ
อาจารย์อื่น รู้ได้ยาก
[191] วัจฉะ เอาเถิด เราจะย้อนถามท่านในข้อนี้ ท่านเห็นควรอย่างไร
ก็พึงตอบอย่างนั้น ท่านเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ถ้าไฟลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่าน
ท่านรู้ได้ไหมว่า ‘ไฟนี้กำลังลุกโพลงต่อหน้าเรา”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าไฟลุกโพลงต่อหน้าข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็รู้ได้ว่า
‘ไฟนี้ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าข้าพระองค์”
“ถ้าใคร ๆ จะพึงถามท่านอย่างนี้ว่า ‘ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไร
จึงลุกโพลง’ ท่านถูกถามอย่างนี้แล้ว จะพึงตอบอย่างไร”
“ถ้าใคร ๆ ถามข้าพระองค์อย่างนี้ว่า ‘ไฟที่ลุกโพลงอยู่ต่อหน้าท่านนี้ อาศัยอะไร
จึงลุกโพลง’ ข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว ก็จะตอบอย่างนี้ว่า ‘ไฟที่ลุกโพลงอยู่
ต่อหน้าข้าพระองค์นี้ อาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึงลุกโพลง ท่านพระโคดม”
“ถ้าไฟนั้นจะพึงดับไปต่อหน้าท่าน ท่านรู้ได้ไหมว่า ‘ไฟนี้ดับไปต่อหน้าท่านแล้ว”
“ถ้าไฟนั้นจะพึงดับไปต่อหน้าข้าพระองค์ ข้าพระองค์ก็รู้ได้ว่า ‘ไฟนี้ดับไปต่อหน้า
ข้าพระองค์แล้ว ท่านพระโคดม”
“วัจฉะ ถ้าใคร ๆ จะพึงถามท่านว่า ‘ไฟที่ดับไปแล้วต่อหน้าท่านนั้น ดับจาก
ทิศนี้แล้วไปยังทิศไหน คือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศใต้ หรือ ทิศเหนือ’
ท่านถูกถามอย่างนี้แล้วจะพึงตอบอย่างไร”
“ข้าแต่ท่านพระโคดม ไม่ควรถามเช่นนั้น เพราะไฟอาศัยเชื้อคือหญ้าและไม้จึง
ลุกโพลง แต่เพราะเชื้อนั้นถูกไฟเผามอดไหม้และเพราะไม่มีของอื่นเป็นเชื้อ ไฟนั้นจึง
นับได้ว่าไม่มีเชื้อ ดับสนิทแล้ว”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :225 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
2. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

[192] “วัจฉะ อย่างนั้นเหมือนกัน บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต1 พึงบัญญัติ
ด้วยรูปใด รูปนั้นตถาคต2ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดราก
ถอนโคนไปแล้วเหลือแต่พื้นที่ ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการ
เรียกว่ารูป มีคุณอันลึกล้ำ อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือน
มหาสมุทร คำว่า ‘เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิด
และไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมา
ใช้ไม่ได้
บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยเวทนาใด เวทนานั้น ตถาคตละ
ได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการเรียกว่าเวทนา มีคุณอันลึกล้ำ
อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร คำว่า ‘เกิด’
นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้
ไม่ได้ คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมาใช้ไม่ได้
บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยสัญญาใด สัญญานั้น ตถาคต
ละได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่
พื้นที่ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการเรียกว่าสัญญา มีคุณอัน
ลึกล้ำอันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร คำว่า
‘เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้
ไม่ได้ คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมาใช้ไม่ได้
บุคคลเมื่อบัญญัติตถาคต พึงบัญญัติด้วยสังขารใด สังขารนั้น ตถาคตละ
ได้แล้ว ตัดรากถอนโคน เหมือนต้นตาลที่ถูกตัดรากถอนโคนไปแล้ว เหลือแต่พื้นที่
ทำให้ไม่มี เกิดขึ้นต่อไปไม่ได้ ตถาคตพ้นแล้วจากการเรียกว่าสังขาร มีคุณอันลึกล้ำ
อันใคร ๆ ประมาณไม่ได้ หยั่งถึงได้ยาก เปรียบเหมือนมหาสมุทร คำว่า ‘เกิด’
นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘ไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้ คำว่า ‘เกิดและไม่เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้
คำว่า ‘จะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ ก็นำมาใช้ไม่ได้