เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
2. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า
‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า
‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่น
ไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจาก
ตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็
ตรัสตอบว่า ‘เราไม่มีทิฏฐิอย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’
เมื่อข้าพระองค์ทูลถามดังนี้ว่า ‘ข้าแต่ท่านพระโคดม ท่านพระโคดมทรงมี
ทิฏฐิอย่างนี้ว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ หรือ’ พระองค์ก็ตรัสตอบว่า ‘วัจฉะ เราไม่มีทิฏฐิ
อย่างนั้นว่า ‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่
นี้เท่านั้นจริง อย่างอื่นไม่จริง’ ท่านพระโคดมทรงเห็นโทษอะไรหรือ จึงไม่ทรงยอมรับ
ทิฏฐิเหล่านี้ โดยประการทั้งปวง เช่นนี้”
[189] พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ ทิฏฐิว่า ‘โลกเที่ยง’ นั้น เป็น
รกชัฏคือทิฏฐิ เป็นกันดารคือทิฏฐิ เป็นเสี้ยนหนามคือทิฏฐิ เป็นความดิ้นรนคือทิฏฐิ
เป็นสังโยชน์คือทิฏฐิ ก่อให้เกิดความทุกข์1 ความลำบาก ความคับแค้น และความ
เร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน ทิฏฐิว่า ‘โลกไม่เที่ยง’ ฯลฯ ‘โลกมีที่สุด’ ฯลฯ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [3. ปริพพาชกวรรค]
2. อัคคิวัจฉโคตตสูตร

‘โลกไม่มีที่สุด’ ฯลฯ ‘ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน’ ฯลฯ ‘ชีวะกับสรีระเป็นคนละ
อย่างกัน’ ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีก’ ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้วตถาคต
ไม่เกิดอีก’ ฯลฯ ‘หลังจากตายแล้วตถาคตเกิดอีกและไม่เกิดอีก’ ฯลฯ ทิฏฐิว่า
‘หลังจากตายแล้วตถาคตจะว่าเกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่’ นั้น เป็นรกชัฏ
คือทิฏฐิ เป็นกันดารคือทิฏฐิ เป็นเสี้ยนหนามคือทิฏฐิ เป็นความดิ้นรนคือทิฏฐิ เป็น
สังโยชน์คือทิฏฐิ ก่อให้เกิดความทุกข์ ความลำบาก ความคับแค้น และความ
เร่าร้อน ไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับ เพื่อสงบระงับ
เพื่อรู้ยิ่ง เพื่อตรัสรู้ และเพื่อนิพพาน
วัจฉะ เราเห็นโทษนี้จึงไม่ยอมรับทิฏฐิเหล่านั้นโดยประการทั้งปวง อย่างนี้”
“ท่านพระโคดมทรงมีทิฏฐิบางอย่างหรือไม่”
“วัจฉะ คำว่า ‘ทิฏฐิ’ นั้น ตถาคตกำจัดได้แล้ว ตถาคตเห็นแล้วว่า ‘รูปเป็น
ดังนี้ ความเกิดแห่งรูปเป็นดังนี้ ความดับแห่งรูปเป็นดังนี้ เวทนาเป็นดังนี้ ความเกิด
แห่งเวทนาเป็นดังนี้ ความดับแห่งเวทนาเป็นดังนี้ สัญญาเป็นดังนี้ ความเกิดแห่ง
สัญญาเป็นดังนี้ ความดับแห่งสัญญาเป็นดังนี้ สังขารเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งสังขาร
เป็นดังนี้ ความดับแห่งสังขารเป็นดังนี้ วิญญาณเป็นดังนี้ ความเกิดแห่งวิญญาณ
เป็นดังนี้ ความดับแห่งวิญญาณเป็นดังนี้’ เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘ตถาคต
หลุดพ้นแล้วด้วยความไม่ถือมั่น เพราะความสิ้นไป เพราะความคลายไป เพราะ
ความดับ เพราะความสละ เพราะความสละคืน เพราะความไม่ถือมั่น อหังการ
มมังการ และมานานุสัย1ทั้งปวง ที่เข้าใจแล้ว ย่ำยีได้แล้วทั้งหมด”

ปัญหาเรื่องความหลุดพ้น

[190] วัจฉโคตรปริพาชกทูลถามว่า “ข้าแต่ท่านพระโคดม ภิกษุผู้มีจิต
หลุดพ้นแล้วอย่างนี้ จะเกิด ณ ที่ไหน”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “วัจฉะ คำว่า ‘เกิด’ นำมาใช้ไม่ได้”
“ถ้าเช่นนั้น ภิกษุนั้นจะไม่เกิดหรือ ท่านพระโคดม”