เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 10. กีฏาคิริสูตร

ท่านผู้เป็นปัญญาวิมุต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ และอาสวะทั้งหลายของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้
เราเรียกว่า เป็นปัญญาวิมุต เรากล่าวว่า ‘ภิกษุแม้นี้ไม่ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความ
ไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นได้ทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาทเสร็จแล้ว และภิกษุนั้น
จัดเป็นผู้ไม่ประมาทต่อไป (2)
ท่านผู้เป็นกายสักขี เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูป เพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ และอาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา บุคคลนี้
เราเรียกว่า เป็นกายสักขี เรากล่าวว่า ‘ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่
ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี ถ้าท่าน
ผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอจะพึง
ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’ จึงกล่าว
ว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (3)
ท่านผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไปเพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง ธรรม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :209 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 10. กีฏาคิริสูตร

ทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว เป็นธรรมที่ผู้นั้นเห็นแจ้งด้วยปัญญา ประพฤติดีแล้ว
บุคคลนี้เราเรียกว่า เป็นทิฏฐิปัตตะ เรากล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความ
ไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี ถ้าท่าน
ผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ จะพึง
ทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้ออกจาก
เรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน’
จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (4)
ท่านผู้เป็นสัทธาวิมุต เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ไม่ได้สัมผัสสันตวิโมกข์ ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
ได้ด้วยกายอยู่ แต่อาสวะบางเหล่าของผู้นั้นสิ้นไป เพราะเห็นด้วยปัญญา อนึ่ง
ความเชื่อในตถาคตของผู้นั้นตั้งมั่นแล้ว มีรากหยั่งลงมั่นคงแล้ว บุคคลนี้เราเรียกว่า
เป็นสัทธาวิมุต เรากล่าวว่า ‘ภิกษุแม้นี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเราเห็นผลแห่งความไม่ประมาทของภิกษุนี้เช่นนี้ว่า ‘จะเป็นการดี
ถ้าท่านผู้นี้เมื่อใช้สอยเสนาสนะที่สมควร คบหากัลยาณมิตร ปรับอินทรีย์ให้เสมอ
จะพึงทำให้แจ้งประโยชน์ยอดเยี่ยมอันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ที่เหล่ากุลบุตรผู้
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบต้องการ ด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ใน
ปัจจุบัน’ จึงกล่าวว่า ‘ภิกษุนี้ต้องทำกิจที่ควรทำด้วยความไม่ประมาท’ (5)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :210 }