เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 10. กีฏาคิริสูตร

วิกาลกลางวัน ก็รู้สึกว่าสุขภาพมีโรคาพาธน้อย กระปรี้กระเปร่า มีพลานามัยสมบูรณ์
อยู่สำราญ เราทั้งหลายนั้นจักละคุณที่ตนเห็นเองแล้วไล่ตามผลที่เป็นอนาคตกาล
ทำไม เราทั้งหลายจักฉันทั้งเวลาเย็น เวลาเช้า และเวลาวิกาลกลางวัน’ จริงหรือ”
ภิกษุชื่ออัสสชิและภิกษุชื่อปุนัพพสุกะ กราบทูลว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า”

กุศลธรรมและอกุศลธรรมกับเวทนา 3

[177] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายรู้ทั่วถึง
ธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ว่า ‘บุคคลนี้เสวยเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ สุขเวทนา
ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา (อุเบกขา) อกุศลธรรมของบุคคลนั้นย่อมเสื่อม
กุศลธรรมย่อมเจริญ’ ใช่ไหม”
ภิกษุทั้งหลายทูลตอบว่า “ไม่ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้ว อย่างนี้ว่า ‘เมื่อบุคคล
บางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อม
เสื่อม แต่เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อม
เสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม แต่เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวย
ทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ เมื่อบุคคล
บางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรม
ย่อมเสื่อม แต่เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยอทุกขมสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศล-
ธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ ใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า”
[178] “ดีละ ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำ
ให้แจ้ง ไม่สัมผัสด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้จะพึงกล่าวว่า ‘เธอ
ทั้งหลายจงละสุขเวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้จักเป็นการสมควรแก่เราหรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :204 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 10. กีฏาคิริสูตร

“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว สัมผัสแล้วด้วย
ปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อม
เจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงละสุขเวทนาเห็น
ปานนี้เถิด’ ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่สัมผัสด้วยปัญญาว่า
‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศล
ธรรมย่อมเจริญ” เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้จะพึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงเข้าถึงสุขเวทนา
เห็นปานนี้อยู่เถิด’ ข้อนี้จักเป็นการสมควรแก่เราหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“ภิกษุทั้งหลาย เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว
สัมผัสแล้วด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลาย
จงเข้าถึงสุขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด’
[179] ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง
ไม่สัมผัสด้วยปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่
อกุศลธรรมย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้ จะพึงกล่าวว่า
‘เธอทั้งหลายจงละทุกขเวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้เป็นการสมควรแก่เราหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เพราะข้อนี้เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว สัมผัสแล้วด้วย
ปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรม
ย่อมเจริญ กุศลธรรมย่อมเสื่อม’ ฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลายจงละทุกข-
เวทนาเห็นปานนี้เถิด’ ข้อนี้ถ้าเราไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ทราบ ไม่ทำให้แจ้ง ไม่สัมผัสด้วย
ปัญญาว่า ‘เมื่อบุคคลบางคนในโลกนี้เสวยทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่ อกุศลธรรม
ย่อมเสื่อม กุศลธรรมย่อมเจริญ’ เราเมื่อไม่รู้อย่างนี้ จะพึงกล่าวว่า ‘เธอทั้งหลาย
จงเข้าถึงทุกขเวทนาเห็นปานนี้อยู่เถิด’ ข้อนี้จักเป็นการสมควรแก่เราหรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :205 }