เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 9. โคลิสสานิสูตร

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร จะมีผู้
ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับ
ท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้ไม่รู้ประมาณในการบริโภคอาหาร’ จะมีผู้
ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็นผู้รู้ประมาณ
ในการบริโภคอาหาร (10)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ไม่เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง
จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว
สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ไม่ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง’
จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร จึงควรเป็น
ผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอย่างต่อเนื่อง (11)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้ปรารภความเพียร1 ถ้าภิกษุผู้ถือการ
อยู่ป่าเป็นวัตรเป็นผู้เกียจคร้าน จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไร
กับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้
เกียจคร้าน’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรเป็นผู้ปรารภความเพียร (12)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้มีสติตั้งมั่น ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรเป็นผู้มีสติฟั่นเฟือน จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการ
สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้มีสติ
ฟั่นเฟือน’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรเป็นผู้มีสติตั้งมั่น (13)


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 9. โคลิสสานิสูตร

ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรเป็นผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการ
สมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้มีจิต
ไม่ตั้งมั่น’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรเป็นผู้มีจิตตั้งมั่น (14)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรเป็นผู้มีปัญญา ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่า
เป็นวัตรเป็นผู้มีปัญญาทราม จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับ
การสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่เป็นผู้มี
ปัญญาทราม’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรเป็นผู้มีปัญญา (15)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรทำความเพียรในอภิธรรมและในอภิวินัย
เพราะเมื่อมีผู้ถามปัญหาในอภิธรรมและในอภิวินัยกับภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรถูกถามปัญหาในอภิธรรมและในอภิวินัยแล้ว ตอบ
ไม่ได้ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ว่า ‘จะมีประโยชน์อะไรกับการสมัครใจอยู่ป่าแต่ผู้เดียว
สำหรับท่านผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรนี้ แต่ถูกถามปัญหาในอภิธรรมและในอภิวินัยแล้ว
ตอบไม่ได้’ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้ เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร
จึงควรทำความเพียรในอภิธรรมและในอภิวินัย (16)
ภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ควรทำความเพียรในสันตวิโมกข์1ซึ่งไม่มีรูปเพราะ
ล่วงรูปฌาน เพราะเมื่อมีคนถามปัญหาในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌาน
กับภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ถ้าภิกษุผู้ถือการอยู่ป่าเป็นวัตรถูกถามปัญหา
ในสันตวิโมกข์ซึ่งไม่มีรูปเพราะล่วงรูปฌานแล้ว ตอบไม่ได้ จะมีผู้ติเตียนภิกษุนั้นได้