เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 7. จาตุมสูตร

เจริญธรรมเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอยู่ ข้าพระองค์และท่านสารีบุตรจักช่วยกัน
บริหารภิกษุสงฆ์”
“ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ ความจริง เรา สารีบุตรหรือโมคคัลลานะเท่านั้น
ควรบริหารภิกษุสงฆ์”

ภัยของภิกษุผู้บวชใหม่ 4 ประการ

[161] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
“ภิกษุทั้งหลาย ภัย 4 ประการนี้ ที่คนลงไปในน้ำพึงประสบ
ภัย 4 ประการ อะไรบ้าง คือ

1. อูมิภัย (ภัยจากคลื่น)
2. กุมภีลภัย (ภัยจากจระเข้)
3. อาวัฏฏภัย (ภัยจากน้ำวน)
4. สุสุกาภัย (ภัยจากปลาร้าย)

ภัย 4 ประการนี้แล ที่คนลงไปในน้ำพึงประสบ ฉันใด
ภิกษุทั้งหลาย ภัย 4 ประการนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ที่กุลบุตรบางคนในโลกนี้
มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตในธรรมวินัยนี้ พึงประสบ
ภัย 4 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. อูมิภัย 2. กุมภีลภัย
3. อาวัฏฏภัย 4. สุสุกาภัย
[162] อูมิภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
‘เราถูกชาติ(ความเกิด) ชรา(ความแก่) มรณะ(ความตาย) โสกะ(ความเศร้าโศก)
ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ) ทุกข์(ความทุกข์กาย) โทมนัส(ความทุกข์ใจ) อุปายาส

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :182 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 7. จาตุมสูตร

(ความคับแค้นใจ) ครอบงำ ตกอยู่ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การ
ทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด จะพึงปรากฏ’ เพื่อนพรหมจารีตักเตือนพร่ำสอน
เธอผู้บวชแล้วนั้นว่า ‘เธอพึงก้าวไปอย่างนี้ พึงถอยกลับอย่างนี้ พึงแลดูอย่างนี้
พึงเหลียวดูอย่างนี้ พึงคู้เข้าอย่างนี้ พึงเหยียดออกอย่างนี้ พึงครองสังฆาฏิ บาตร
และจีวรอย่างนี้’ เธอคิดอย่างนี้ว่า ‘เมื่อก่อน เราเป็นคฤหัสถ์มีแต่ตักเตือน
พร่ำสอนผู้อื่น ก็ภิกษุเหล่านี้ มีอายุคราวลูกคราวหลานของเรา ยังจะมาตักเตือน
พร่ำสอนเรา’ เธอจึงบอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์
นี้เรียกว่า ภิกษุผู้กลัวอูมิภัย บอกคืนสิกขากลับมาเป็นคฤหัสถ์ คำว่า อูมิภัย นี้
เป็นชื่อเรียกความโกรธและความคับแค้นใจ
[163] กุมภีลภัย เป็นอย่างไร
คือ กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต คิดว่า
‘เราถูกชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาสครอบงำ ตกอยู่
ในกองทุกข์ มีทุกข์ประดังเข้ามา ไฉนหนอ การทำกองทุกข์ทั้งหมดนี้ให้สิ้นสุด
จะพึงปรากฏ’ เพื่อนพรหมจารีตักเตือนพร่ำสอนเธอผู้บวชแล้วนั้นว่า ‘สิ่งนี้เธอ
ควรฉัน สิ่งนี้เธอไม่ควรฉัน สิ่งนี้เธอควรบริโภค สิ่งนี้เธอไม่ควรบริโภค สิ่งนี้เธอ
ควรลิ้ม สิ่งนี้เธอไม่ควรลิ้ม สิ่งนี้เธอควรดื่ม สิ่งนี้เธอไม่ควรดื่ม สิ่งที่เป็นกัปปิยะ1
เธอควรฉัน สิ่งที่เป็นอกัปปิยะ2เธอไม่ควรฉัน สิ่งที่เป็นกัปปิยะเธอควรบริโภค สิ่งที่
เป็นอกัปปิยะเธอไม่ควรบริโภค สิ่งที่เป็นกัปปิยะเธอควรลิ้ม สิ่งที่เป็นอกัปปิยะเธอ
ไม่ควรลิ้ม สิ่งที่เป็นกัปปิยะเธอควรดื่ม สิ่งที่เป็นอกัปปิยะเธอไม่ควรดื่ม สิ่งนี้เธอควร