เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 6. ลฏุกิโกปมสูตร

5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณมี 5 ประการนี้แล
อุทายี สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ 5 ประการนี้เกิดขึ้น เราเรียกว่า ความสุข
ที่เกิดจากกาม ความสุขไม่สะอาด ความสุขของปุถุชน ไม่ใช่ความสุขของพระอริยะ
เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรเสพ1 ไม่ควรให้เจริญ ไม่ควรทำให้มาก ควรเกรงกลัวสุขชนิดนี้2’

รูปฌาน 4

[156] อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ3 อยู่ ฌานทั้ง 4 นี้เราเรียกว่า ความสุขเกิดจากการออกจากกาม
ความสุขเกิดจากความสงัด ความสุขเกิดจากความสงบ ความสุขเกิดจากการตรัสรู้
เรากล่าวว่า ‘ควรเสพ ควรให้เจริญ ควรทำให้มาก ไม่ควรเกรงกลัวสุขชนิดนี้’
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ อยู่ ปฐมฌานนี้เรากล่าวว่า ยังหวั่นไหว
ในปฐมฌานนั้นยังมีอะไรหวั่นไหว
การที่วิตกวิจารในปฐมฌานนี้ยังไม่ดับ เป็นความหวั่นไหวในปฐมฌานนั้น


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 6. ลฏุกิโกปมสูตร

เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
แม้ทุติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ยังหวั่นไหว
ในทุติยฌานนั้นยังมีอะไรหวั่นไหว
การที่ปีติและสุขในทุติยฌานนี้ยังไม่ดับ เป็นความหวั่นไหวในทุติยฌานนั้น
เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุข
ด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ แม้ตติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ยังหวั่นไหว
ในตติยฌานนั้นยังมีอะไรหวั่นไหว
การที่อุเบกขาและสุขในตติยฌานนี้ยังไม่ดับ เป็นความหวั่นไหวในตติยฌานนั้น
เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่ จตุตถฌานนี้เรากล่าวว่า ไม่หวั่นไหว

อรูปฌาน 4

อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุ
ปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ ปฐมฌานนี้เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลาย
จงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงปฐมฌานนั้น
คือ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ อยู่
นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงปฐมฌานนั้น แม้ทุติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำ
ความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’
อะไรเล่าเป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงทุติยฌานนั้น
คือ เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุในธรรมวินัยนี้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ
เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่ นี้เป็นธรรมเครื่องก้าวล่วงทุติยฌานนั้น
แม้ตติยฌานนี้เราก็กล่าวว่า ‘ไม่ควรทำความอาลัย เธอทั้งหลายจงละ จงก้าวล่วง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :175 }