เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 6. ลฏุกิโกปมสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเรารู้ความต่างแห่งอินทรีย์ในบุคคลนี้
4. รู้ว่า ‘อุปธิ1 เป็นเหตุแห่งทุกข์’ แล้วเป็นผู้ไม่มีอุปธิ น้อมจิตไปใน
ธรรมเป็นที่สิ้นอุปธิ2 เราเรียกบุคคลนี้ว่า ‘ผู้คลายกิเลสได้แล้ว มิใช่
ผู้มีกิเลส’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเรารู้ความต่างแห่งอินทรีย์ในบุคคลนี้
บุคคล 4 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก

กามคุณ 5 ประการ

[155] อุทายี กามคุณมี 5 ประการนี้
กามคุณ 5 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. รูปที่พึงรู้แจ้งทางตา ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก
ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
2. เสียงที่พึงรู้แจ้งทางหู ...
3. กลิ่นที่พึงรู้แจ้งทางจมูก ...
4. รสที่พึงรู้แจ้งทางลิ้น ...


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 6. ลฏุกิโกปมสูตร

5. โผฏฐัพพะที่พึงรู้แจ้งทางกาย ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวน
ให้รัก ชักให้ใคร่ พาใจให้กำหนัด
กามคุณมี 5 ประการนี้แล
อุทายี สุขโสมนัสที่อาศัยกามคุณ 5 ประการนี้เกิดขึ้น เราเรียกว่า ความสุข
ที่เกิดจากกาม ความสุขไม่สะอาด ความสุขของปุถุชน ไม่ใช่ความสุขของพระอริยะ
เรากล่าวว่า ‘ไม่ควรเสพ1 ไม่ควรให้เจริญ ไม่ควรทำให้มาก ควรเกรงกลัวสุขชนิดนี้2’

รูปฌาน 4

[156] อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว
บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ อยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ
เพราะปีติจางคลายไป มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ
ตติยฌาน ฯลฯ เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน บรรลุ
จตุตถฌาน ฯลฯ3 อยู่ ฌานทั้ง 4 นี้เราเรียกว่า ความสุขเกิดจากการออกจากกาม
ความสุขเกิดจากความสงัด ความสุขเกิดจากความสงบ ความสุขเกิดจากการตรัสรู้
เรากล่าวว่า ‘ควรเสพ ควรให้เจริญ ควรทำให้มาก ไม่ควรเกรงกลัวสุขชนิดนี้’
ภิกษุในธรรมวินัยนี้สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ฯลฯ อยู่ ปฐมฌานนี้เรากล่าวว่า ยังหวั่นไหว
ในปฐมฌานนั้นยังมีอะไรหวั่นไหว
การที่วิตกวิจารในปฐมฌานนี้ยังไม่ดับ เป็นความหวั่นไหวในปฐมฌานนั้น