เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 6. ลฏุกิโกปมสูตร

“อุทายี กุลบุตรบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อเรากล่าวว่า
‘จงละความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความผิดเพียงเล็กน้อยที่ต้องละนี้จะ
สำคัญอะไร พระผู้มีพระภาคจึงตรัสสอนให้เราทั้งหลายละ พระสุคตจึงตรัสสอนให้
เราทั้งหลายสลัดทิ้ง’ พวกเขาละความผิดนั้นทั้งที่ไม่มีความยำเกรงในเรา อนึ่ง ภิกษุ
ทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขา ละความผิดนั้นแล้ว เป็นผู้ไม่มีความดิ้นรน ไม่หวาดกลัว
ดำรงชีวิตด้วยของที่ผู้อื่นให้ มีใจดุจมฤคอยู่ ความผิดเพียงเล็กน้อยของภิกษุเหล่านั้น
จัดเป็นเครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร

อุปมาด้วยคนจน

[152] อุทายี เปรียบเหมือนคนยากไร้ ไม่มีทรัพย์สินสิ่งไรเป็นของตน
จัดเป็นคนจน ไม่ใช่คนมั่งคั่งเลย เขามีเรือนเล็ก ๆ หลังหนึ่ง ซึ่งมีเครื่องมุงและ
เครื่องประกอบอื่น ๆ ผุพัง หลุดลุ่ย ต้องคอยไล่นกกา ไม่เป็นรูปบ้าน มีแคร่อันหนึ่ง
ก็ผุพังแทบไม่เป็นแคร่ มีข้าวเปลือกและเมล็ดพืชสำหรับหว่านหม้อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่
พันธุ์ดี มีภรรยาคนหนึ่งก็ไม่สวย เขาเห็นภิกษุผู้อยู่ในอารามมีมือและเท้าล้างสะอาด
สะอ้าน ฉันโภชนะล้วนน่าอร่อย นั่งอยู่ในสถานที่ร่มรื่นเย็นสบาย เจริญธรรมฝึก
สมาธิ เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ความเป็นสมณะน่าสุขสบายหนอ ความเป็น
สมณะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บหนอ เราควรจะโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตบ้าง’
แต่เขาไม่อาจสละเรือนหลังเล็กนั้นซึ่งมีเครื่องมุงบังและเครื่องประกอบอื่น ๆ ผุพัง
หลุดลุ่ย ต้องคอยไล่นกกา ไม่เป็นรูปบ้าน ไม่อาจละแคร่อันหนึ่งที่ผุพังแทบไม่
เป็นแคร่ ไม่อาจละข้าวเปลือกและเมล็ดพืชสำหรับหว่านหม้อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พันธุ์ดี
ไม่อาจละภรรยาคนหนึ่งซึ่งมีรูปไม่สวย แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตได้
อุทายี ผู้ใดกล่าวอย่างนี้ว่า ‘เครื่องผูกที่ผูกบุรุษนั้น ผู้ไม่อาจละเรือนหลังเล็ก ๆ
หลังหนึ่งซึ่งมีเครื่องมุงบังและเครื่องประกอบอื่น ๆ ผุพัง หลุดลุ่ย ต้องคอยไล่นกกา
ไม่เป็นรูปบ้าน ไม่อาจละแคร่อันหนึ่งที่ผุพังแทบไม่เป็นแคร่ ไม่อาจละข้าวเปลือกและ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :169 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 6. ลฏุกิโกปมสูตร

เมล็ดพืชสำหรับหว่านหม้อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พันธุ์ดี ไม่อาจละภรรยาคนหนึ่งซึ่งมีรูป
ไม่สวย แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็น
บรรพชิต จัดเป็นเครื่องผูกที่ไม่มีกำลัง บอบบาง เปื่อย ไม่มีแก่นสาร’ ผู้นั้นเมื่อ
กล่าวอย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวถูกต้องหรือไม่”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า เพราะเครื่องผูกที่ผูกบุรุษนั้น ผู้ไม่อาจละได้แม้แต่เรือน
หลังเล็ก ๆ หลังนั้น ซึ่งมีเครื่องมุงและเครื่องประกอบอื่น ๆ ผุพัง หลุดลุ่ย ที่ต้อง
คอยไล่นกกา ไม่เป็นรูปบ้าน ไม่อาจละแคร่อันหนึ่งที่ผุพังแทบไม่เป็นแคร่ ไม่อาจละ
ข้าวเปลือกและเมล็ดพืชสำหรับหว่านหม้อหนึ่ง ซึ่งไม่ใช่พันธุ์ดี ไม่อาจละภรรยา
คนหนึ่งซึ่งมีรูปไม่สวย แล้วโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน
บวชเป็นบรรพชิตได้ จัดเป็นเครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็น
เหมือนท่อนไม้ใหญ่”
“อุทายี โมฆบุรุษบางพวกในธรรมวินัยนี้ก็อย่างนั้นเหมือนกัน เมื่อเรากล่าวว่า
‘จงละความผิดนี้เสียเถิด’ ก็กล่าวอย่างนี้ว่า ‘ความผิดเพียงเล็กน้อยนี้จะสำคัญอะไร
พระสมณะรูปนี้ช่างเคร่งครัดนัก’ พวกเขาจึงไม่ละความผิดนั้นทั้งที่ยังมีความยำเกรง
ในเรา อนึ่ง ความผิดเพียงเล็กน้อยของภิกษุทั้งหลายผู้ใคร่ในสิกขานั้น ย่อมเป็น
เครื่องผูกที่มีกำลัง มั่นคง แน่นแฟ้น ไม่เปื่อย เป็นเหมือนท่อนไม้ใหญ่

อุปมาด้วยคนมั่งมี

[153] อุทายี เปรียบเหมือนคหบดีหรือบุตรคหบดีผู้มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก
มีสมบัติมาก สะสมทองไว้หลายร้อยแท่ง สะสมข้าวเปลือก นา ที่ดิน ภรรยา
ทาสชาย ทาสหญิง ไว้เป็นอันมาก เขาเห็นภิกษุผู้อยู่ในอารามมีมือและเท้าล้าง
สะอาดสะอ้าน ฉันโภชนะล้วนน่าอร่อย นั่งอยู่ในสถานที่ร่มรื่นเย็นสบาย เจริญธรรม
ฝึกสมาธิ เขาจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ความเป็นสมณะน่าสุขสบายหนอ ความเป็น
สมณะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บหนอ เราควรจะโกนผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์
ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตบ้าง’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :170 }