เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 5. ภัททาลิสูตร

ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
อีกประการหนึ่ง เพราะปีติจางคลายไป ภิกษุบรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
อีกประการหนึ่ง เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อน
ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ อยู่
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์

วิชชา 3

เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน1 ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง ฯลฯ2
เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติพร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและชีวประวัติอย่างนี้
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่อจุตูปปาตญาณ เห็นหมู่สัตว์ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและ


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 5. ภัททาลิสูตร

ไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็น
ไปตามกรรมว่า ‘หมู่สัตว์ที่ประกอบกายทุจริต ฯลฯ จะไปเกิดในอบาย ทุคติ วินิบาต
นรก หมู่สัตว์ที่ประกอบกายสุจริต ฯลฯ1 จะไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์’ เธอเห็น
หมู่สัตว์ ผู้กำลังจุติ กำลังเกิด ทั้งชั้นต่ำและชั้นสูง งามและไม่งาม เกิดดีและเกิดไม่ดี
ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์เหนือมนุษย์ รู้ชัดถึงหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมอย่างนี้แล
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์
เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้นน้อมจิตไป
เพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า ‘นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินี-
ปฏิปทา’ เมื่อเธอรู้เห็นอยู่อย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นจากกามาสวะ ภวาสวะ และ
อวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้วก็รู้ว่า ‘หลุดพ้นแล้ว’ รู้ชัดว่า ‘ชาติสิ้นแล้ว อยู่จบ
พรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว2 ไม่มีกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีกต่อไป3’
ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะภิกษุนั้นเป็นผู้บำเพ็ญสิกขาในศาสนาของศาสดาให้บริบูรณ์

เหตุที่ทำให้ถูกข่มขี่และไม่ถูกข่มขี่

[140] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระภัททาลิได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้ภิกษุ
ทั้งหลายมักข่มขี่ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) อนึ่ง
อะไรหนอ เป็นเหตุเป็นปัจจัยไม่ให้ภิกษุทั้งหลายมักข่มขี่ภิกษุบางรูปในพระธรรม-
วินัยนี้ ทำให้เป็นเหตุ(แห่งอธิกรณ์) พระพุทธเจ้าข้า”