เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 5. ภัททาลิสูตร

“ภัททาลิ เอาเถิด โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง ไม่ฉลาด ผู้ประกาศ
ความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่เราบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทาน
ศึกษาอยู่
[136] ภัททาลิ เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็น
อุภโตภาควิมุต1เราจะพึงกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ภิกษุ เราจะก้าวไป
ในหล่มด้วยกัน ภิกษุนั้นจะพึงก้าวไป หรือน้อมกายไปทางอื่น หรือจะพึงปฏิเสธ”
“ไม่ปฏิเสธ พระพุทธเจ้าข้า”
“เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นปัญญาวิมุต2 เป็น
กายสักขี3 เป็นทิฏฐิปัตตะ4 เป็นสัทธาวิมุต5 เป็นธัมมานุสารี6 เป็นสัทธานุสารี7
เราจะพึงกล่าวกับภิกษุนั้นอย่างนี้ว่า ‘มาเถิด ภิกษุ เราจะก้าวไปในหล่มด้วยกัน’
ภิกษุนั้นจะพึงก้าวไป หรือน้อมกายไปทางอื่น หรือจะพึงปฏิเสธ”
“ไม่ปฏิเสธ พระพุทธเจ้าข้า”


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 5. ภัททาลิสูตร

“เธอเข้าใจความข้อนั้นว่าอย่างไร เวลานั้น เธอเป็นอุภโตภาควิมุต เป็น
ปัญญาวิมุต เป็นกายสักขี เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นสัทธาวิมุต เป็นธัมมานุสารี หรือ
เป็นสัทธานุสารีบ้างไหม”
“ไม่ พระพุทธเจ้าข้า”
“เวลานั้น เธอเป็นคนว่าง คนเปล่า คนผิด ใช่ไหม”
“ใช่ พระพุทธเจ้าข้า โทษได้ครอบงำข้าพระองค์ผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง
ไม่ฉลาด ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคทรง
บัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์สมาทานศึกษาอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคทรงรับรู้โทษของ
ข้าพระองค์โดยความเป็นโทษ เพื่อความสำรวมระวังต่อไปเถิด พระพุทธเจ้าข้า”
“ภัททาลิ เอาเถิด โทษได้ครอบงำเธอผู้เป็นคนโง่ เป็นคนหลง ไม่ฉลาด
ผู้ประกาศความไม่สามารถใน(การรักษา)สิกขาบทที่เราบัญญัติไว้(และ)ให้ภิกษุสงฆ์
สมาทานศึกษาอยู่ แต่เพราะเธอเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตามธรรม
เราจึงรับรู้โทษของเธอนั้น การที่บุคคลเห็นโทษโดยความเป็นโทษแล้วทำคืนตาม
ธรรมจะสำรวมระวังต่อไปนี้ เป็นความเจริญในอริยวินัย

ผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาให้บริบูรณ์

[137] ภัททาลิ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่บำเพ็ญสิกขาในศาสนา
ของศาสดาให้บริบูรณ์ เธอมีความคิดอย่างนี้ว่า ‘ทางที่ดี เราควรพักอยู่ ณ เสนาสนะ
เงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟางเถิด
บางทีเราจะพึงทำให้แจ้งญาณทัสสนะที่ประเสริฐอันสามารถ1 วิเศษยิ่งกว่าธรรมของ
มนุษย์2’ เธอพักอยู่ ณ เสนาสนะเงียบสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ