เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 2. มหาราหุโลวาทสูตร

3. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก’
4. สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขารหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขารหายใจออก’
5. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก’
6. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุขหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุขหายใจออก’
7. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก’
8. สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขารหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขารหายใจออก’
9. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตหายใจออก’
10. สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิงหายใจออก’
11. สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่นหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่นหายใจออก’
12. สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิตหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิตหายใจออก’
13. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก’
14. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก’
15. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจออก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :132 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 3. จูฬมาลุกยสูตร

16. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก’
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้ ย่อมมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก1
ราหุล เมื่ออานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้วอย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้
ลมอัสสาสะ(หายใจเข้า) ลมปัสสาสะ(หายใจออก) ครั้งสุดท้ายที่ปรากฏชัด ย่อมดับไป
ที่ไม่ปรากฏชัด ยังไม่ดับไป”
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสภาษิตนี้แล้ว ท่านพระราหุลมีใจยินดีชื่นชมพระภาษิต
ของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล

มหาราหุโลวาทสูตรที่ 2 จบ

3. จูฬมาลุงกยสูตร
ว่าด้วยพระมาลุงกยบุตร สูตรเล็ก
เหตุแห่งอัพยากตปัญหา 10 ประการ

[122] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก-
เศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุงกยบุตร หลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ได้เกิด
ความคิดคำนึงอย่างนี้ว่า
“ทิฏฐิที่พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสตอบ ทรงงด ทรงวางเฉยเหล่านี้ คือ ทิฏฐิว่า
‘โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลกมีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีวะกับสรีระเป็นอย่างเดียวกัน
ชีวะกับสรีระเป็นคนละอย่างกัน หลังจากตายแล้วตถาคต2เกิดอีก หลังจากตายแล้ว