เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 2. มหาราหุโลวาทสูตร

3. เธอจงเจริญมุทิตาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญมุทิตาภาวนาอยู่
จักละความริษยาได้
4. เธอจงเจริญอุเบกขาภาวนาเถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอุเบกขาภาวนาอยู่
จักละความหงุดหงิดได้
5. เธอจงเจริญอสุภภาวนา1เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอสุภภาวนาอยู่ จักละ
ราคะได้
6. เธอจงเจริญอนิจจสัญญา2เถิด เพราะเมื่อเธอเจริญอนิจจสัญญาอยู่
จักละความถือตัวได้

อานาปานสติ 16 ขั้น

[121] ราหุล เธอจงเจริญอานาปานสติเถิด เพราะอานาปานสติที่บุคคล
เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก
อานาปานสติที่บุคคลเจริญแล้วอย่างไร ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก
มีอานิสงส์มาก
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้
บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า มีสติหายใจเข้า มีสติหายใจออก
1. เมื่อหายใจเข้ายาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้ายาว’
เมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกยาว’
2. เมื่อหายใจเข้าสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจเข้าสั้น’
เมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า ‘เราหายใจออกสั้น’


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [2. ภิกขุวรรค] 2. มหาราหุโลวาทสูตร

3. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก’
4. สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขารหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับกายสังขารหายใจออก’
5. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้ปีติหายใจออก’
6. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุขหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้สุขหายใจออก’
7. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตตสังขารหายใจออก’
8. สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขารหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราระงับจิตตสังขารหายใจออก’
9. สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เรากำหนดรู้จิตหายใจออก’
10. สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิงหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราทำจิตให้บันเทิงหายใจออก’
11. สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่นหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราตั้งจิตมั่นหายใจออก’
12. สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิตหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราเปลื้องจิตหายใจออก’
13. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยงหายใจออก’
14. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความคลายออกได้หายใจออก’
15. สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจเข้า’
สำเหนียกว่า ‘เราพิจารณาเห็นความดับไปหายใจออก’

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 13 หน้า :132 }