เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [1. คหปติวรรค] 10. อปัณณกสูตร

[106] บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้
เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นอเจลก(ประพฤติเปลือยกาย) ไม่มีมารยาท
เลียมือ ฯลฯ1 ถือการย่างและอบกายหลายรูปแบบอยู่ ด้วยประการอย่างนี้
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน
หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
บุคคลเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าแพะ ฆ่าสุกร ฯลฯ2 หรือบางพวกเป็นผู้ทำการ
ทารุณ
พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
บุคคลเป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นอย่างไร
คือ บุคคลบางคนในโลกนี้เป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้รับมูรธาภิเษกแล้วก็ดี
ฯลฯ3 เหล่าชนผู้เป็นทาสก็ดี เป็นคนรับใช้ก็ดี เป็นคนงานก็ดี ของพระราชานั้น
ถูกอาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ไปทำงานไป


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ [1. คหปติวรรค] 10. อปัณณกสูตร

พราหมณ์และคหบดีทั้งหลาย บุคคลนี้เรียกว่า เป็นผู้ทำตนให้เดือดร้อน หมั่น
ประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน และเป็นผู้ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน หมั่นประกอบในการ
ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
บุคคลเป็นผู้ไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำตนให้เดือดร้อน
และเป็นผู้ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่หมั่นประกอบในการทำผู้อื่นให้เดือดร้อน
เขาไม่ทำตนให้เดือดร้อน ไม่ทำผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นผู้ไม่หิว ดับร้อน เย็นใจ
มีตนอันประเสริฐ เสวยสุขอยู่ในปัจจุบัน เป็นอย่างไร
คือ ตถาคตอุบัติขึ้นมาในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้ด้วยตนเองโดยชอบ ฯลฯ1
ภิกษุนั้นครั้นละนิวรณ์ 5 ประการนี้ที่เป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต เป็นเครื่อง
ทอนกำลังปัญญาแล้ว สงัดจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน
ที่มีวิตก วิจาร ปีติ และสุขอันเกิดจากวิเวกอยู่ เพราะวิตกวิจารสงบระงับไป บรรลุ
ทุติยฌานมีความผ่องใสในภายใน มีภาวะที่จิตเป็นหนึ่งผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร
มีแต่ปีติและสุขอันเกิดจากสมาธิอยู่ เพราะปีติจางคลายไป บรรลุตติยฌาน ฯลฯ อยู่
เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับไปก่อนแล้วบรรลุจตุตถฌาน
ฯลฯ อยู่

วิชชา 3

เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเพียงดังเนิน ปราศจากความ
เศร้าหมอง อ่อน เหมาะแก่การใช้งาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ภิกษุนั้น
น้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ คือ 1 ชาติบ้าง
2 ชาติบ้าง ฯลฯ2 เธอระลึกชาติก่อนได้หลายชาติ พร้อมทั้งลักษณะทั่วไปและ
ชีวประวัติอย่างนี้