เมนู

พระสุตตันตปิฏก ทีฆนิกาย มหาวรรค [2. มหานิทานสูตร] วิญญาณฐิติ 7 ประการ

กับภิกษุผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วดังกล่าวนั้น อย่างนี้ว่า ‘ท่านมีทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว
ตถาคตไม่เกิดอีกหรือ’ การกล่าวของผู้นั้นก็ไม่สมควร ผู้ใดกล่าวกับภิกษุผู้มีจิต
หลุดพ้นแล้วดังกล่าวนั้น อย่างนี้ว่า ‘ท่านมีทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคต
เกิดอีกและไม่เกิดอีกหรือ’ การกล่าวของผู้นั้นก็ไม่สมควร ผู้ใดกล่าวกับภิกษุผู้มีจิต
หลุดพ้นแล้วดังกล่าวนั้น อย่างนี้ว่า ‘ท่านมีทิฏฐิว่า ‘หลังจากตายแล้ว ตถาคตจะว่า
เกิดอีกก็มิใช่ จะว่าไม่เกิดอีกก็มิใช่หรือ’ การกล่าวของผู้นั้นก็ไม่สมควร
ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะชื่อ คำที่เป็นเพียงชื่อ ความหมาย คำที่ใช้ตาม
ความหมาย บัญญัติ คำบัญญัติ ความเข้าใจ สื่อความเข้าใจ วัฏฏะยังเป็นไปอยู่
ตลอดกาลเพียงใด วัฏฏะย่อมหมุนไปตลอดกาลเพียงนั้น
ภิกษุชื่อว่าหลุดพ้นแล้วเพราะรู้ยิ่งวัฏฏะนั้น ผู้ใดกล่าวกับภิกษุผู้หลุดพ้นแล้ว
เพราะรู้ยิ่งวัฏฏะนั้นว่า ‘ท่านมีทิฏฐิว่า ‘พระอรหันต์ย่อมไม่รู้ไม่เห็น’ การกล่าวของ
ผู้นั้นก็ไม่สมควร’

วิญญาณฐิติ 7 ประการ
(ภูมิเป็นที่ตั้งแห่งวิญญาณ)

[127] อานนท์ วิญญาณฐิติ1 7 ประการ และอายตนะ 2 ประการนี้
วิญญาณฐิติ 7 ประการ อะไรบ้าง คือ
1. มีสัตว์ทั้งหลายผู้มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน คือ มนุษย์
เทพบางพวก2 และวินิปาติกะบางพวก3 นี้เป็นวิญญาณฐิติที่ 1

เชิงอรรถ :
1 ดูเทียบ ที.ปา. 11/332/222-223, 357/258-259, องฺ.นวก. (แปล) 23/24/481-482
2 เทพบางพวก หมายถึงพวกเทพในสวรรค์ชั้นกามาวจร 6 คือ (1) ชั้นจาตุมหาราช (2) ชั้นดาวดึงส์
(3) ชั้นยามา (4) ชั้นดุสิต (5) ชั้นนิมมานรดี (6) ชั้นปรนิมมิตวสวัตดี (ที.ม.อ. 127/109)
3 วินิปาติกะบางพวก ในที่นี้หมายถึงยักษิณีและเวมานิกเปรตที่พ้นจากอบายภูมิ 4 (ที.ม.อ. 127/109)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 10 หน้า :72 }